![]() |
![]() |
พญาไฟ![]() |
... สวัสดีค่ะ หลังจากที่ได้มีโอกาสฝึกโยคะ แบบเรียนตรงจากครูแล้ว ก็เข้าใจได้มากขึ้น ดีกว่าการอ่านและดูภาพจากหนังสือเองมาก ๆ เลยค่ะ ก็ทำให้เกิดแรงใ...
ตอน : การขับถ่ายที่ดีขึ้น
สวัสดีค่ะหลังจากที่ได้มีโอกาสฝึกโยคะ แบบเรียนตรงจากครูแล้ว ก็เข้าใจได้มากขึ้น ดีกว่าการอ่านและดูภาพจากหนังสือเองมาก ๆ เลยค่ะ ก็ทำให้เกิดแรงใจนำมาฝึกปฏิบัติทุกวันค่ะ วันนี้ก็เลยมีเรื่องหนึ่งอยากจะเล่า หลังจากคิดใคร่ครวญดูแล้ว ก็เห็นว่าเป็นผลอันเกิดมาจากโยคะแน่ ๆ ค่ะ





เรื่องนี้อยากจะเล่ามาหลายวันแล้วค่ะ เพราะผลที่เกิดขึ้นนั้น ดีต่อร่างกายจริง ๆ ค่ะ แต่ไม่ทราบว่าจะเล่าในลักษณะใดดี อันเนื่องจากผลที่ได้รับนั้น เป็นสิ่งที่คนเราควรจะปฏิบัติทุก ๆ เช้าให้ได้ทุกวัน เป็นเรื่องของการขับถ่ายค่ะ คิด ๆ อยู่ ว่าจะถ่ายทอดออกมาอย่างไรดีให้อ่านแล้วไม่เป็นที่น่ารังเกียจ อิอิ อันที่จริง เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำกันเลยนะคะ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับชีวิต ถ้าใครไม่สามารถฝึกให้ตัวเองขับถ่ายทุก ๆ วันแล้ว ก็คงจะทราบว่า มันเป็นความรู้สึกที่ทรมานมาก ๆ
เอาล่ะค่ะ เกริ่นให้ฟังเพื่อเตรียมใจกันไว้ก่อนอ่านต่อนะคะ ต้องมีเรื่องเหม็น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องค่ะ หวั่น ๆ อยู่ว่าเขียนออกมาแล้ว จะเป็นเรื่องน่ารังเกียจหรือเปล่า สมควรเอามาเล่าในที่สาธารณะมั้ย อิอิ ถ้าใครไม่ชอบก็ของให้เลิกอ่านซะตั้งแต่ตอนนี้เลยนะคะ แต่ก็จะพยายามเล่าให้ฟังแล้วไม่เกิดอาการอันน่ารังเกียจมากนักค่ะ





หลังจากเรียนมาแล้ว ก็เอามาฝึกทุกวันค่ะ กำหนดเวลาชีวิตไว้แล้วค่ะ ตื่นตี 4 เพื่อฝึกท่าง่าย ๆ 11 ท่าพื้นฐานนี่แหล่ะค่ะ แต่ละท่าเนี่ย เมื่อถึงจังหวะหยุดค้าง พญาไฟก็จะค้างไว้ประมาณ 30 วินาที โดยการนับ 1-30 ในใจค่ะ เสร็จแล้วจึงค่อยผ่อนคลาย กลับเข้าสู่ท่าเตรียมอีกครั้งหนึ่ง และทำท่าเดิมซ้ำอีก 1 ครั้ง ก็สรุปว่า ทำ ท่าละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที รวม 11 ท่า แค่นี้ พอทำเสร็จจริง ก็ใช้เวลาไปตั้ง 40 นาทีแน่ะค่ะ แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ต้องกำหนดหรอกนะคะ ว่าจะหยุดแต่ละท่านานเท่าไหร่ ให้ยึดหลักแค่ว่าค้างหยุดท่าแต่ละครั้งนั้น เรากำลังสบายอยู่ที่เวลาขนาดไหน ก็เท่านั้นพอ ห้ามฝืนร่างกายเด็ดขาดค่ะ ให้ทำตามที่ร่างกายเรียกร้องค่ะ หากขณะค้างมีอาการสั่น นั่นหมายถึงร่างกายบอกว่า นานไปแล้ว คลายได้แล้ว
วันที่เกิดเหตุที่จะนำมาเล่านี้ พญาไฟกำลังทำท่างูอยู่ค่ะ ทำเป็นท่าที่ 3 เริ่มจากท่าศพ ท่าจรเข้ แล้วก็ท่างู เมื่อถึงจังหวัดหยุดและค้างไว้ เพิ่งจะนับหนึ่งได้ถึง 10 เองค่ะ ปุ๋งซะแล้ว ดีนะ ว่าอยู่คนเดียว โอ้ เป็นปุ๋งที่ยาวนานมาก ควรจะเรียก ปู๊ดดดด มากกว่า อิอิ นี่ถ้าเป็นตอนที่กำลังเรียนฝึกอยู่จะทำไงเนี่ย เป็นได้อายกันแน่ เอ้า นับต่อ แต่ไม่ได้การแล้วค่ะ นับไปได้อีก 5 วิเท่านั้น ร่างกายก็เตือนแล้วค่ะ หยุดก่อน หยุดก่อน เจ้าต้องไปจัดการตามที่ร่างกายบอกก่อนค่ะ ร่างกายบอกให้เดินไปเข้าห้องน้ำเดี๋ยวนี้เลย มีเพื่อนกำลังมาทักทายที่ประตูหลังบ้านซะแล้ว
ก็ต้องทำตามซิคะ แล้วก็รีบไปเข้าห้องน้ำเลย ว้าว นี่เป็นอานิสงค์จากการทำโยคะท่างูหรือไรนี่ นั่งปุ๊บก็ไม่ต้องเบ่งเลยค่ะ ค่อย ๆ ลำเลียงกันมาเลย (อ๊ะ อ๊ะ บอกให้เตรียมใจไว้ล่วงหน้าแล้วนะคะ) ออกมาได้ 2 หน่วย แล้วก็โล่งเลยค่ะ ก้มลงไปดูซะหน่อย สำรวจดูผลงาน ก็เห็นว่า เป็นหน่วยประเภทที่หนัก ๆ จมค่ะ เกาะกันเป็นก้อนอย่างเหนียวแน่น ไม่มีเศษที่ลอยกระจัดกระจายเลยค่ะ สีค่อนข้างคล้ำ แต่ไม่ถึงกับดำ ตอนที่อ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรมชาติบำบัด เค้าบอกไว้ว่า ถ้าถ่ายออกมาแล้วจม แสดงว่าเป็นผลจากการอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากเกินไป ก็นึกย้อนไปว่าวันสองวันนี้เราก็ไม่ได้ทานเนื้อสัตว์มานานแล้วนะ เอ๊ หรือว่าจะเป็นสิ่งที่สะสมไว้นานแล้ว ถ้างั้นก็ดีซิ เอาออกมาซะให้หมด ๆ เอาพิษออกไปจากร่างกายซะ ยิ่งมีกำลังใจที่จะทำโยค่ะ อีกมาก ๆ เลยค่ะ





ย้อนกลับไปอ่านในคู่มือค่ะ คู่มือก็บอกไว้ว่า ท่างูนี้ มีประโยชน์ในการกดนวดช่องท้อง ลดกรดในกระเพาะอาหาร และช่วยการขับถ่าย ว้าว จริง ๆ ด้วย ทีนี้ ลองมาพิจารณากันดูซิคะว่ามันเป็นผลจากท่างูจริงหรือไม่
จากหลักการของโยคะ มี 3 อย่างค่ะ
1. กระดูกสันหลังที่ยืดหยุ่น
2. ระบบไหลเวียนของเลือด
3. กดนวดอวัยวะสำคัญ ๆ ภายในช่องตัว
การออกกำลังกายแบบโยคะ เน้นที่กล้ามเนื้อที่สำคัญถึงชีวิต เท่านั้นค่ะ โยคะ จะเรียกแขนขา ว่าแขนง หมายถึง อวัยวะที่ไม่สำคัญต่อการมีชีวิต หากขาดไปก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่ กล้ามเนื้อสำคัญถึงชีวิตของคนเราก็คือ กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อซี่โครง กระบังลม กล้ามเนื้อลึกชั้นในที่ทำหน้าที่พยุงกระดูกสันหลัง เหล่านี้ เมื่อเราปฏิบัติอาสนะ ก็จะเป็นการฝึกให้กล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรง
ท่างูนี้เป็นท่าที่นอนคว่ำหน้า ใช้มือพยุงตัวไว้ข้างลำตัว คลายกล้ามเนื้อให้สบาย ตั้งแต่กล้ามเนื้อไหล่ หลัง หน้าท้อง สะโพก ก้น ขา เท้า ไล่มาเลยนะคะ จากนั้นก็ค่อย ๆ ยกตัวขึ้นมาค่ะ ยกตัวขึ้นมาเองนะคะ ไม่ใช่ใช้แขนยกตัวขึ้นมา จากนั้นทิ้งน้ำหนักไว้ที่หน้าท้อง เกร็งเฉพาะท้องค่ะ ท่านี้ ท้องเท่านั้นที่ทำงาน ส่วนอื่น ๆ ต้องคลายการเกร็งให้หมดเลยนะคะ มือแขนทั้งสองข้าง ทำหน้าที่แค่พยุงตัวไว้ไม่ให้เสียหลักเท่านั้นนะคะ ไม่ต้องออกแรงแขนเลย ท่านใดที่ทำท่านี้ แล้วยกตัวขึ้นมาโดยใช้กำลังแขน ขอให้เลิกเลยนะคะ ผิดค่ะ ให้คลายกำลังแขนออกซะ เกร็งได้แต่ท้องอย่างเดียว อันนี้สำคัญค่ะ จึงต้องย้ำกันบ่อย ๆ
อย่างที่บอกแล้ว ว่าโยคะ ไม่เน้นที่การออกกำลังของแขนและขา ส่วนที่ทำให้ตัวเรายกอยู่ได้ คือหน้าท้อง และกระดูกสันหลังค่ะ จะเห็นว่าจากการที่เราได้มีการบริหารอวัยวะภายในช่องท้องโดยตรง อวัยวะภายในเริ่มแข็งแรงขึ้น ลำไส้มีการทำงานดีขึ้น จึงทำให้การขับเคลื่อนสิ่งตกค้างต่าง ๆ ที่อยู่ภายในดีขึ้น และช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้นนั่นเอง
ท่าจรเข้ ก็มีส่วนช่วยด้วยเหมือนกันค่ะ ขณะที่เรานอนคว่ำหน้า น้ำหนักตัวจะกดทับลงไปที่ท้อง จะสัมผัสได้จากการที่รู้สึกได้ว่า มีการเต้นตุ๊บ ๆ อยู่ที่บริเวณท้อง การทำท่านี้ จะเป็นการผ่อนคลายการเกร็งต่าง ๆ ทั้งหมด หน้าท้องก็ไม่ต้องเกร็งด้วยนะคะ ให้การทำงานอยู่ที่น้ำหนังตัวที่กดทับลงไปเท่านั้นพอ
ท่าตั๊กแตนเช่นเดียวกันค่ะ ใช้เป็นการออกกำลังหน้าท้องส่วนล่าง การยกขาขึ้นของท่านี้ ขณะยกนั้น ไหล่ต้องไม่เกร็ง เมื่อเราทำแรก ๆ เราอาจจะเผลอ ใช้ไหล่ หรือหน้าอกช่วยพยุงน้ำหนัก อันนี้ก็ไม่ได้เลยค่ะ ต้องให้น้ำหนักทั้งหมดทิ้งไปที่หน้าท้อง และเกร็งหน้าท้องไว้เพื่อให้ยกขาไว้ได้
เมื่อกลับมาพิจารณาอย่างนี้ แล้วก็เห็นว่าการบริการกล้ามเนื้อภายในช่องท้อง เริ่มจากการทำท่างูบริหารกล้ามเนื้อในช่องท้องส่วนบน ผ่อนคลายด้วยท่าจรเข้ และต่อเนื่องด้วยการทำท่าตั๊กแตนเพื่อบริหารกล้ามเนื้อในช่องท้องส่วนล่าง ทำ 3 ท่านี้ต่อเนื่องกัน จะช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้นจริง ๆ ตอนนี้ท่างู ท่าจรเข้ และท่าตั๊กแตน เลยกลายเป็น 3 ท่าในดวงใจสำหรับพญาไฟเรียบร้อยแล้วค่ะ
อย่าลืมนะคะ ขอย้ำอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ทำท่างูและท่าจระเข้นี้ ไม่ต้องเกร็งส่วนใด ๆ เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา หลัง ไหล่ คอ ให้เกร็งที่เดียวคือ หน้าท้อง ค่ะ
ถ้าทำแล้ว ได้ผล ก็จะรู้สึกได้กับตัวเองเลยค่ะ ว่า ดีจริง ๆ ใครที่ทำแล้ว ยังไม่รู้สึกว่ามีอะไรเกิดขึ้น หรือไม่รู้สึกว่ามีการเต้นตุ๊บ ๆ ที่หน้าท้อง ให้นึกไว้ก่อนเลยนะคะ ว่าลืมตัว ไปเกร็งอวัยวะส่วนอื่น ๆ นอกเหนือไปจากท้องหรือเปล่า บางคนอาจทำโยคะ แล้วรู้สึกปวดเมื่อต้นคอ ก็อาจจะเป็นไปได้ ที่ขณะทำนั้น มีการไปเกร็งคอโดยไม่รู้ตัวค่ะ





จำไว้เลยนะคะ หลังจากทำโยคะเสร็จแล้ว ต้องรู้สึก สบาย ผ่อนคลาย แต่หากทำแล้วปวดเมื่อย อาจจะเป็นเพราะมีการเกร็งที่ผิดท่า หรือฝืนทำมากเกินไป ก็ต้องหมั่นสำรวจตัวเองขณะทำอยู่เรื่อย ๆ นะคะ
ไว้ถ้าฝึกโยคะต่อไปแล้วได้ผลต่อร่างกายเป็นอย่างไร จะนำมาเล่าให้ฟังต่อนะคะ
พญาไฟ
14 พฤศจิกายน 2547