![]() |
![]() |
จันทน์กะพ้อ![]() |
...
ชื่อ ปราบดา อาจจะมาจากคำว่า ปราฟด้า (Правда) ใน ภาษารัสเซีย ที่แปลว่าความจริง และเป็น ชื่อหนังสือพิมพ์ที่เค...

ตอน : ปราบดา หยุ่น

![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ปราบดา ชื่อเล่นว่า "คุ่น" เกิดเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2516 เขาเป็นบุตรคนเดียวของ สุทธิชัย หยุ่น กับนันทวัน เมฆใหญ่ ซึ่งก็คงเป็นที่รู้จักกันว่า สุทธิชัย หยุ่น คือ หุ้นส่วนใหญ่สื่อในเครือ เดอะเนชั่น รวมถึง คมชัดลึก ซึ่งเขาเองเป็นผู้ก่อตั้ง หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ The Nation ซึ่งต่อสู้มาด้วยความยากลำบากนานถึง 15 ปี จึงจะประสบความสำเร็จ ส่วนคุณแม่ คือ คุณนันทวัน เมฆใหญ่ เป็นอดีตบรรณาธิการนิตยสารลลนา ซึ่งเป็นนิตยสารที่โด่งดังมากสมัยที่ สุวรรณี สุคนธา ยังมีชีวิตอยู่
ปราบดา หยุ่นจบ ม.3 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาประมาณ 11 ปี สำเร็จปริญญาตรีสาขาศิลปะจาก The Cooper Union for the Advancement of Art and Science จากนิวยอร์ก เคยทำงานกราฟฟิคดีไซน์ และ เรียนการชงชา
ปราบดา หยุ่น เริ่มเข้าสู่วงการหนังสือ ตั้งแต่สมัยมัธยม เรื่องสั้นเรื่องแรก ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร ลลนา สมัยอยู่เทพศิรินทร์ทำหนังสือของโรงเรียนชื่อ รั้วรำเพย และทำหนังสือของโรงเรียนอีกครั้งที่ Parsonns School of Design ชื่อหนังสือ Pivot ซึ่งเขาเป็นทั้งกองบรรณาธิการ และอาร์ตไดเรกชั่นเอง งานเหล่านี้คือพื้นฐาน ให้เขาก้าวเดินอย่างมั่นคง บนถนนคนเขียนหนังสือ
เมื่อกลับจากอเมริกา มาสมัครเป็นทหารอยู่ 6 เดือน (เรียนปริญญาตรีจะเป็นทหารแค่ 6 เดือน) จากเกณฑ์ทหารก็เริ่มเขียนหนังสือ ประมาณ ปี 2542 เรื่องสั้นเรื่องแรกลงที่แพรวสุดสัปดาห์ ชื่อ "คนนอนคม" หลังจากนั้น เป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ และเป็นคนเขียนบทให้กับรายการโทรทัศน์เรื่องปมไหม (Silk Knot) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการหายตัวไปอย่างลึกลับของจิม ทอมป์สัน ผู้ผลิตผ้าไหมรายใหญ่ของไทย
และในช่วงนี้เขามีหนังสือที่พิมพ์ออกมาคือ
เมืองมุมฉาก (2543)
ความน่าจะเป็น (2543)
สิ่งที่เคลื่อนไหว (2544)
อุทกภัยในดวงตา (2544)
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ซึ่งทั้ง 4 เรื่องนี้มีคนส่งผลงานของเขาเข้าประกวดรางวัลซีไรท์ ปี 2545 ทั้งสี่เรื่อง เรื่องที่ได้เข้ารอบ คือเรื่อง ความน่าจะเป็น และเรื่องนี้ก็ได้รับรางวัลซีไรท์ปี่ 2545 ด้วยเหตุผลที่ว่า
ความน่าจะเป็น เป็นวรรณกรรมที่น่าจะถือได้ว่าเป็นตัวแทนความคิดของคนรุ่นใหม่ เขาเป็นนักเขียนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่างสังเกตชีวิตและพฤติกรรมมนุษย์ วิพากษ์วิจารณ์สังคมและค่านิยมของยุคสมัย แล้วนำมาล้อเลียนเสียดสีด้วยอารมณ์ขันอย่างเฉียบคม
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ความน่าจะเป็นแสดงความสามารถของผู้เขียนในการนำเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องมาเขียนให้เป็นเรื่องที่น่าขบคิดหรือตั้งคำถามโดยไม่ให้คำตอบ เรื่องสั้นในหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดนี้มีลีลา และกลวิธีการเขียนเฉพาะตัวและมีความหลากหลาย แปลกใหม่ในด้านกลวิธีีและขนบวรรณศิลป์ นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นในด้านการเล่นกับภาษา
อย่างมีรากฐานทางวัฒนธรรม
ผลงานของเขาได้แก่
เรื่องสั้น
เมืองมุมฉาก (2543) (City of Right-Angles, 2000)
ความน่าจะเป็น (2543) (Probability, 2000)
อุทกภัยในดวงตา (2544) (Flood in the Eyes, 2001)
ส่วนที่เคลื่อนไหว (2544) (The Parts That Move, 2001)
เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง (2545) (The Story Really Happened, 2002)
กระทบไหล่เขา (2547) (Crashing Into Shoulders of Mountains, 2004)
ความสะอาดของผู้ตาย (2548) (Cleaning the Dead, 2005)
นวนิยาย
ชิทแตก! (มีอัลบั้มเพลงประกอบด้วยชื่อ บัวหิมะ) (2545) (Chit-tak!, 2002)
แพนด้า (หนังสือ)|แพนด้า (2547) (Panda, 2004)
ฝนตกตลอดเวลา (2548)(Rain Lessons, 2005)
นอนใต้ละอองหนาว (2549)(Under the Snow, 2006)
รวมบทความและความเรียง
(เปิดไป) หน้าศูนย์ (2549)
ภาพไม่นิ่ง (2544) (Unstill Pictures, 2001)
น้ำใส่กะโหลก (2545) (Water For the Skull, 2002)
อย่าอ่านเลย ก็แล้วกัน (2545) (Please Don't Read, Carefully, 2002)
เป็น: เรียงความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนังสือ (2546) (Be: About the Breath of Words, 2003)
สมมุติสถาน (2548) (Imagined Landscape, 2005)
ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 1 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2545) (Parallel Probability Vol. 1, with Win Leowarin, 2002)
ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 2 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2547) (Parallel Probability Vol. 2, with Win Leowarin, 2004)
ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 3 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2548) (Parallel Probability Vol. 3, with Win Leowarin, 2005)
ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 4 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2549) (Parallel Probability Vol. 3, with Win Leowarin, 2006)
ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 5 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2550) (Parallel Probability Vol. 3, with Win Leowarin, 2007)
บทภาพยนตร์
เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล (2546) (Last Life in the Universe, with Pen-ek Rattanaruang, 2003)
คำพิพากษาของมหาสมุทร (2549) (Invisible Waves, 2006)
หนังสือแปล
คนหัวหมา (2546) (Dogwalker, by Arthur Bradford, 2003)
ปราบดาหยุ่นได้รับรางวัลซีไรท์เมื่อมีอายุเพียง 29 ปี และความน่าจะเป็นยังได้รับรางวัลชมเชยประเภทหนังสือรวมเรื่องสั้น ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติอีกด้วย
เขายังได้รับรางวัลจากคณะกรรมการศิลปะและวัฒนธรรม จากการเขียนเรื่อง Where We Feel: A Tsunami Memoir by An Outsider
นอกจากนี้เขายังเป็นดารานักร้องและนักแสดงด้วย
ปราบดา ก่อตั้งสำนักหนังสือไต้ฝุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2548
ปัจจุบันเขีบนคอลัมน์ชื่อ "ดนตรีที่มีน้ำตา" ลงในนิตยสาร สารคดี
เขียนจดหมายโต้ตอบกับวินทร์ เลียววาริณ ชื่อคอลัมน์ "ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน" ในนิตยสาร GM
และทำดนตรีในชื่อ เดอะ ไต้ฝุ่น แบนด์
วิกิพีเดีย
ปราบดา หยุ่น
ปราบดา หยุ่น
เมื่อวันที่ : ๒๘ ก.ย. ๒๕๕๑, ๒๑.๓๓ น.
รางวัลสร้างสรรค์วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรท์) ประจำปี 2545 "ความน่าจะเป็น" ของ ปราบดา หยุ่น ก็ผงาดคว้ารางวัลนี้มาแบบสบายด้วยคะแนนเสียงไม่เอกฉันท์ 5 ต่อ 2 เสียง จากคณะกรรมการทั้ง 7 คน คือ นิตยา มาศะวิสุทธิ์, ประภัสสร เสวิกุล, รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, อัศศิริ ธรรมโชติ, ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์, ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และกุสุมา รักษมณี
นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ประภัสสร เสวิกุล หนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน น่าจะเป็นคนที่ออกมาแยกย่อยลักษณะงานเขียนของ ปราบดา หยุ่น ได้โปร่งใสชัดเจนมากที่สุดว่า มีความโดดเด่นคือ
1.มีต้นทุนทางภาษาและถ้อยคำ
2.ความหนุ่ม ก่อให้เกิดการขบถต่อขนบ ตรงนี้ก็นำไปสู่ความแปลกใหม่
3.เสน่ห์ในความนุ่มนวลและเหน็บแนม
4.การมองโลกด้วยมุมมองที่แปลกออกไปจากที่คนทั่วๆ ไปเคยมองกันอยู่
5.ความสามารถที่จะสื่อกับผู้คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเขา
6.ความสมัยใหม่ และความร่วมสมัย สะท้อนวิถีของคนรุ่นใหม่
7.ความเป็นคนที่ช่างคิด ช่างสังเกต และช่างเล่า
8.การนำเสนอด้วยวิธีการเฉพาะตัวของปราบดาเอง
9.เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมด้วย
10.ความสามารถในการบอกเล่า
ปราบดา หยุ่น