![]() |
![]() |
จันทน์กะพ้อ![]() |



ตอน : วิมล ไทรนิ่มนวล



วิมล ไทรนิ่มนวล เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2498 สัญชาติไทย บิดาชื่อ นายหอม มารดาชื่อ นางโม เป็นชาวอำเภอบางเลน จ.นครปฐม จบการศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เคยรับราชการเป็นครูอยู่ 10 ปี แล้วลาออก ทำงานเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์ทานตะวัน และเป็นบรรณาธิการสมทบบริษัทต้นอ้อ จำกัด พร้อมกับสร้างสรรค์งานวรรณกรรม
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
วิมล ไทรนิ่มนวล อยู่ในวงวรรณกรรมมายาวนานตั้งแต่สมัยรับราชการครู ก่อนที่จะตัดสินใจมาเป็นนักเขียนเต็มตัว เปิดสำนักพิมพ์ทานตะวัน ทำหนังสือตั้งแต่ปี 2526 -
และเป็นนักเขียนอยู่ที่จังหวัดอยุธยา เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ ทานตะวัน สมรสแล้ว มีบุตร 2 คน
มีผลงานที่รวมเล่ม ทั้งเรื่องสั้นและนวนิยาย ดังนี้
1. แมงมุมอ้วน (เรื่องสำหรับเด็ก) พิมพ์ พ.ศ. 2525
2. กระแสลมที่พัดกลับ (รวมเรื่องสั้น) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2526 ตีพิมพ์แล้วหลายครั้ง
3. งู (นวนิยาย) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2527 ตีพิมพ์แล้วหลายครั้ง
4. คนจน (นวนิยาย) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2530 ตีพิมพ์แล้วหลายครั้ง
5. คนทรงเจ้า (นวนิยาย) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2531 ตีพิมพ์แล้วหลายครั้ง และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์
6. โคกพระนาง (นวนิยาย) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2532 ตีพิมพ์แล้วหลายครั้ง
7. วันฟ้าหม่น (รวมเรื่องสั้น) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2533 ตีพิมพ์แล้วหลายครั้ง
8. ผู้ไขว่คว้า (นวนิยาย) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2534
9. ดวงเดือนในห้วงน้ำ (นวนิยาย) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2534 ตีพิมพ์แล้ว 2 ครั้ง
10. นิกส์เอดส์ (รวมเรื่องสั้น) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2538
11. จ้าวแผ่นดิน (นวนิยาย ยาว 957หน้า) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2539
12. อมตะ (นวนิยาย) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543 และเป็นนวนิยายซีไรท์ ประจำปี 43
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
สำหรับนวนิยายเรื่อง อมตะนั้น เป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่สมมุติเรื่องในอนาคต เมื่อมนุษย์สามารถ "โคลน" มนุษย์ด้วยกันเองได้ โดยการนำเสนอเรื่องของนักธุรกิจที่อยากอยู่ได้อย่างอมตะ จึงทำ "โคลน" มนุษย์ไว้เป็นอะไหล่ของเขาเอง เมื่อส่วนใดเสื่อมก็ผ่าตัดเปลี่ยนเอาใหม่จาก "โคลน" ของเขาเอง เป็นการผูกปมให้ชวนติดตามด้วยความใคร่รู้ ทั้งเนื้อเรื่องและประเด็นวิวาท และการใช้วรรณกรรมเสนอปรัญชาพุทธศาสนาได้อย่างน่าสนใจ เหมือนกับจะฉุดรั้งความคิดของคนสมัยใหม่ ที่จะเพริดไปกับความก้าวหน้าล้ำยุค จนลืมคิดถึงเรื่อง"ชีวิตจิตใจ" ซึ่งเป็นหัวใจของตัวตนมนุษย์
นวนิยายเรื่อง อมตะ จึงได้รับคำยกย่องจากคณะกรรมการตัดสินรางวัลซีไรท์ว่า "เป็นนวนิยายแห่งจินตนาการถึงโลกอนาคตเกี่ยวกับการแสวงหาความเป็นอมตะของชีวิตโดยใช้รูปแบบวิวาทะระหว่างแนวคิดบริโภคนิยม กับแนวคิดทางศาสนาของโลกตะวันออก"
ผลงานเรื่องต่อๆมาของเขาได้แก่
13. วิญญาณแห่งสายลมพัดพาฉันมา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2545 เป็นประวัติส่วนตัวของคุณวิมล ไทรนิ่มนวล ที่จัดทำขึ้นเพื่อนเป็นข้อมูลให้แก่ ผู้ที่ศึกษางานเขียน ได้รู้ภูมิหลังของผู้เขียน
14. อิสรภาพและการจองจำ รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ.2545
16. ความฝันของผีเสื้อ พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2546
และต่อมาเขาได้เบนชีวิตของเขาเข้าสู่การเมือง โดยครั้งแรกอยู่ในทีมกลุ่มมดงาน ดร. พิจิต รัตตกุล ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2539-2543
และต่อมาเมื่อปลายปี 2550 นี้ วิมล ไทรนิ่มนวลก็ประกาศตั้งพรรคการเมือง ชื่อพรรค ดุลยภาพ โดยให้สัมภาษณ์ว่า
..."สนใจการเมืองตั้งแต่ปี 2543 ที่ ดร.พิจิตต รัตตกุล ตั้งพรรคถิ่นไทยขึ้นมา เนื่องจากอ่านนโยบายพรรคแล้วรู้สึกว่า ใกล้เคียงกับความคิดเรา แม้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ใช้ได้ ถ้าทำตามจะช่วยแก้ไขปัญหาสังคมได้มาก ตอนนั้นลงสมัครในนามพรรคถิ่นไทย แต่สอบตก (หัวเราะ) ต่อมาพรรคถิ่นไทยก็โดนยุบทั้งที่ไม่ผิด จากนั้นตั้งพรรคใหม่ชื่อ 'พรรครักษ์ถิ่นไทย' สุดท้ายเอาไว้ไม่อยู่ จากนั้นจึงตั้ง 'พรรคดุลยภาพแห่งประเทศไทย' แต่ไปขอจดแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เขาก็ขอตัดคำว่า 'แห่งประเทศไทย' ออก การตั้งพรรคขึ้นมาครั้งนี้ไม่มีเงิน แต่คิดว่าหากมีเมล็ดพันธุ์สักเม็ด หากค่อยๆ รดน้ำพรวนดิน หาคนมีอุดมการณ์เหมือนกันเข้ามาช่วยกันรดน้ำก็เติบโตขึ้นมาได้"
"พรรคดุลยภาพมีแนวคิดจะทำงานเชื่อมโยงความคิดพรรคกรีนทั่วโลกอยากทำตามอุดมคติ คิดว่าพรรคการเมืองต้องยืนหยัดให้ได้ในหลักการของมัน ไม่ใช่พร้อมจะผสมพันธุ์กับใครก็ได้ หากเป็นอย่างนี้พรรคการเมืองไม่เติบโตและเป็นแค่บริษัท แล้วเข้าเทกโอเวอร์ประเทศไทย จากนั้นไปแสวงหาผลประโยชน์ในตำแหน่งอำนาจหน้าที่"
http://www.pantip.com/cafe/library/writer/vimol/profile.html
http://www.praphansarn.com/new/c_talk/detail.asp?ID=117
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=11004&catid=29
หนังสือ100 นักประพันธ์ไทย ผศ. ประทีป เหมือนนิล
เมื่อวันที่ : ๐๑ เม.ย. ๒๕๕๑, ๒๐.๕๖ น.
หนังสือที่วิมล ไทรนิ่มนวลชอบ
จาก ประพันธ์สาส์น
"ผมชอบอยู่หลายเรื่องนะ ที่จริงชอบเยอะไปหมด เรื่องแรกที่อ่านแล้วประทับใจคือ ปฏิบัติการณ์การุณรัก ของวิโนภา ภเว เป็นสารคดีอัตชีวประวัติของตัวเขาเอง ผมชอบเพราะว่าชีวิตเขานั้นน่าสรรเสริญ น่าประทับใจมาก ตัวเองนั้นเกิดมาอยู่ในวรรณะพราหมณ์ แต่ว่าชีวิตไม่ได้วางตัวไว้สูงส่งเช่นเดียวกับวรรณะแต่กลับมารับใช้ผู้ต่ำต้อยกว่ามารับใช้วรรณะจันทาน วรรณสูตร มาช่วยท่านคานธีทำงานเกี่ยวกับเรื่องสังคม ที่ประทับใจมาก ๆเลยมีสองประเด็น เรื่องแรกคือ ท่านเดินทางทั่วประเทศอินเดียเพื่อบริจาคขอที่ดินเพื่อนำมาแจกจ่ายจัดสรรให้กับคนที่ไม่มีที่ดินทำกิน กับอีกประเด็นหนึ่งก็คือท่านเป็นกวี เป็นกวีโดยจิตวิญญาณ โดยไม่ต้องให้ใครมายกย่องว่าเป็นกวี เขียนบทกวีเสร็จเรียบร้อย แล้วก็อ่าน อ่านแล้วก็เผาทิ้ง ไม่ต้องมาตีพิมพ์...
เป็นหนังสือที่ดีอีกเล่มหนึ่งที่ให้ความคิดกับคนอ่าน ซึ่งผมอยากให้ทุกคนในโลกนี้ได้อ่าน เพราะว่าชีวิตคนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะคิดแต่เรื่องทำมาหากิน คิดแต่เรื่องแสวงหาผลกำไร สะสมความมั่งคั่งทรัพย์สินเงินทองลาบยศสรรเสริญ ชีวิตเกิดมาทั้งชีวิตไม่ได้มีเพียงแค่นี้ แต่มันยังมีชีวิตด้านอื่นอีก ยังมีเรื่องศาสนกิจ สุนทรียกิจ ไม่ใช่มีแต่เรื่องเศรษฐกิจ..."