![]() |
![]() |
จันทน์กะพ้อ![]() |
...
กนกพงศ์เดินทางมาใช้ชีวิตอยู่กับงานเขียนที่ "หุบเขาฝนโปรยไพร" อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ชีวิตการทำงานแบบ "เผาตัวเอง" ทำให้มีอาการไข้หวัดใหญ่เล่นงาน และเสียชีวิตด้วยอาการน้ำท่วมปอดเมื่อเช้าวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549...


ตอน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์


การศึกษา
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เขาจบชั้นประถมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดไทรโกบ ประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนวัดพิกุลทอง มัธยมศึกษาจากโรงเรียนพัทลุง การศึกษาในระบบขั้นสุดท้าย สาขาวิชาบริหารธุรกิจคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ทว่าไม่จบ ออกมาทำงานด้านสำนักพิมพ์ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนหันไปใช้ชีวิตคลุกคลีกับชาวบ้านแถบเทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติชีวิตและงาน
เริ่มสนใจการอ่านมาตั้งแต่เด็ก เพราะบิดารักการอ่านหนังสือ ทุกประเภท เมื่อเรียนชั้นมัธยมศึกษา ได้มีโอกาสเข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักเขียนชาวใต้ กลุ่มนาคร ทำให้สนใจงานเขียนมากขึ้น จนมี กวีบทแรก "ความเป็นจริงที่เป็นไป" ตีพิมพ์ใน "สยามใหม่" ขณะเรียนมัธยมต้นในรั้วเขียวเหลือง (2523) เรื่องสั้นเรื่องแรก "ดุจตะวันเจิดจ้า" ตีพิมพ์ใน "มติชนสุดสัปดาห์" ขณะเรียนมัธยมปลาย(2527)
เป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งคนหนึ่งของ"กลุ่มนาคร" ปี 2532 เรื่องสั้น สะพานขาด ได้รับการประดับช่อการะเกดครั้งแรก เรื่องสั้น "โลกใบเล็กของซัลมาน" ได้รับการประดับช่ออีกครั้งในปี 2533 นับเป็นนักเขียนช่อการะเกดคนแรกที่ได้รับการประดับช่อสองครั้ง มีผลงานรวมเรื่องสั้นสามเล่มแล้วคือ สะพานขาด ปี 2534 คนใบเลี้ยงเดี่ยว ปี 2535 และเล่มล่าสุด แผ่นดินอื่น ปี 2539 ได้รับรางวัลซีไรท์ประจำปี 2539 (ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ซีไรท์ ที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะ "แผ่นดินอื่น" คือรวมเรื่องสั้นที่รวมเอาแนวคิดของกนกพงศ์ที่ต่อปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เอาไว้ โดยเฉพาะ เรื่อง "แมวแห่งบูเก๊ะกรือซอ") เคยรั้งตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือไรเตอร์ แมกกาซีนในยุคที่ 2 ต่อจากขจรฤทธิ์ รักษา ปัจจุบันได้หยุดกิจการไปแล้ว
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ในช่วงหลัง ๆ มานี้ นอกจากกนกพงศ์จะผลิตเรื่องสั้นชั้นดีลงตีพิมพ์ตามหน้านิตยสารแล้ว ยังมีบทความเชิงการเมืองที่สะท้อนสังคม และวิถีชีวิตของคนพื้นถิ่นดินแดนภาคใต้ กนกพงศ์ยังเขียนบทกวีสะท้อนการต่อสู้ของคนระดับรากหญ้าได้อย่างเข็มข้น และหยั่งลึกถึงปมปัญหาได้อย่างน่าทึ่ง
ผลงานที่ได้รางวัลและผลงานตีพิมพ์แล้วมีดังนี้
- ป่าน้ำค้าง (รวมบทกวี : 2531) เป็นผลงานบทกวีรวมเล่มครั้งแรก
- สะพานขาด (รวมเรื่องสั้น : 2534) ได้รับรางวัลเรื่องสั้นช่อการะเกด จากสุชาติ สวัสดิ์ศรี เมื่อปี พ.ศ. 2532และได้รับคัดเลือกให้แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นในเวลาต่อมา
- เรื่องสั้น โลกใบเล็กของซัลมาน ได้รับรางวัลเรื่องสั้น ช่อการะเกด เมื่อ พ.ศ.2533
- คนใบเลี้ยงเดี่ยว (รวมเรื่องสั้น : 2534)
- แผ่นดินอื่น (รวมเรื่องสั้น : 2539) ได้รับรางวัลซีไรท์ ปี 2539
- บันทึกจากหุบเขาฝนโปรยไพร (2544) ความเรียงเชิงบันทึกทัศนะ
- ยามเช้าของชีวิต (2546) เรื่องเล่าเชิงบันทึกทัศนะ
- โลกหมุนรอบตัวเอง (2548) รวมเรื่องสั้น
- ในหุบเขา (2549) กวีนิพนธ์
- นิทานประเทศ (2549)
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
นามปากกา ใช้นามจริง
ในช่วง 10 ปีหลังสุด กนกพงศ์เดินทางมาใช้ชีวิตอยู่กับงานเขียนที่ "หุบเขาฝนโปรยไพร" อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เขาหายเงียบไปจากหน้าหนังสือสังคมนักเขียนอยู่พักใหญ่ ก่อนจะมีรวมเรื่องสั้นเล่มล่าสุดออกมา คือ "โลกหมุนรอบตัวเอง" และกำลังจะมีการรวมเล่มเรื่องสั้นชุดต่อไปในไม่ช้า แต่ด้วยความเป็นคนไม่แข็งแรง และใช้ชีวิตการทำงานชนิดที่เพื่อนรักอย่างไพฑูรย์ ธัญญาเรียกว่า "เผาตัวเอง" ทำให้มีอาการไข้หวัดใหญ่เล่นงาน ก่อนจะเข้าไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนคินทร์ อ.เมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นไข้หวัดใหญ่ และเสียชีวิตด้วยอาการน้ำท่วมปอดเมื่อเช้าวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549
อาจารย์ธัญญา สังขพันธานนท์ หรือ "ไพฑูรย์ ธัญญา" อดีตนักเขียนซีไรท์ ชุด "ก่อกองทราย" ปี 2530 เพื่อนร่วมชายคา "กลุ่มนาคร" กล่าวชื่นชมเพื่อนนักเขียนคนนี้ว่า เป็นนักเขียนเรื่องสั้นที่ฝีมือดีที่สุดคนหนึ่งของวงการ
"งานของกนกพงศ์ทุกชิ้น เขียนด้วยใจทุ่มเทจริงๆ ในชุดแผ่นดินอื่นนั้น คือรวมเรื่องสั้นเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้ของเราที่สะท้อนผ่านแนวคิดของกนกพงศ์จริงๆ เขาสัมผัสมาอย่างนั้น เขารู้สึกอย่างนั้น เขาก็เลยเขียน และทำได้ดีมาก จะว่าไปปัญหาเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นนั้น กนกพงศ์คือคนที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งทีเดียว เพียงแต่ไม่มีใครฟังเขาอย่างจริงจัง"
http://www.bookgang.net/writer/kanokpong/index.php
http://www.tjanews.org/cms....emid=47
และข้อมูลจากหนังสือ100 นักประพันธ์ไทย ผศ. ประทีป เหมือนนิล
เมื่อวันที่ : ๑๙ ส.ค. ๒๕๕๑, ๑๖.๓๖ น.
ชอบคุณกนกพงษ์มาก ๆ น่าเสียดายที่จากวงการนักเขียนเร็วเกินไป