![]() |
![]() |
จันทน์กะพ้อ![]() |
...
วาณิช จรุงกิจอนันต์ เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2491 ที่ อ.บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สาม ในพี่น้องทั้งหมด 5 คน บิดาทำงานโรงสีข้าว ส่วนมารดาทำขนมขาย เขาเร...

ตอน : วาณิช จรุงกิจอนันต์

![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |

ในด้านงานประพันธ์ เริ่มแต่งกลอนตั้งแต่สมัยมัธยม มีผลงานกลอนได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกใน แม่บ้านการเรือน 2507 เคยชนะเลิศแข่งขันกลอนสดในระดับอุดมศึกษา และเขียนเรื่องสั้นเรื่องแรก ในคืนแห่งความเซ็ง ลงใน นิตยสาร ลลนา 2515 เคยใช้นามปากกา สุริยฉาย ตอบปัญหาชีวิตในลลนา นอกนั้นส่วนใหญ่ใช้ชื่อจริง
วาณิช สมรส กับทอรุ้ง มีบุตร 3 คน เพกา กงพัด และสงฟาง เขายึดการประพันธ์เป็นอาชีพมาตลอด
ผลงาน
รวมเรื่องสั้น ซอยเดียวกัน
นวนิยาย แม่เบี้ย เคหาสน์ดาว ตุ๊กตา
รวมบทกวี บันทึกแห่งการเดินทาง 6 ตุลามหากาพย์ (ร่วมกับคนอื่น) ฯลฯ
หนังสือสำหรับเด็ก เด็กชายกมลเที่ยวบ้านทุ่ง เขี้ยวสิงโต แม่หนูผู้กล้าหาญ ลูกเสือหาเหยื่อให้แม่ ธรรมชาติคือครู
สารคดี จดหมายถึงเพื่อน เล่ม 1 -- 2 ถึงแม่จำเนียร เพื่อนผู้อยู่ในบ้าน เลาะยุโรป ประเดี๋ยวเดียวที่จัตุรัสแดง รอยยิ้มหลังม่านหยก บ้านเกิดและเพื่อนเก่า ฯลฯ
บทภาพยนตร์ สี่ยอดกุมาร สิงหไกรภพ แม่เบี้ย คู่กรรม จักรยานสีแดง ฯลฯ
บทละครโทรทัศน์ วังน้ำวน ตุ๊กตา แผ่นดินของเรา ฯลฯ
หนังสือรวมเล่มจากคอลัมน์ประจำ สนทนาประสาจน สวัสดีครับคุณผู้หญิง ริมระเบียง ซอยใจสบาย ซอยซีไรท์ ลูกทุ่ง โรงถ่าย นิยายรัก ฯลฯ
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
รางวัลที่ได้รับ
เด็กชายกมลเที่ยวบ้านทุ่ง ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทหนังสือสำหรับเด็กในงานสัปดาห์หนังสือ แห่งชาติ ปี 2521
เขี้ยวสิงโต ได้รับรางวัลชมเชยประเภทหนังสือสำหรับเด็กในงานสัปดาห์หนังสือ แห่งชาติ ปี 2522
แม่หนูผู้กล้าหาญ ได้รับรางวัลชมเชยประเภทหนังสือสำหรับเด็กในงานสัปดาห์หนังสือ แห่งชาติ ปี 2523
ลูกเสือหาเหยื่อให้แม่ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การประกวดหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กของธนาคารกสิกรไทย ประจำปี 2524
เลาะยุโรป ได้รับรางวัลชมเชยประเภทสารคดี ในงานสัปดาห์หนังสือ แห่งชาติ ปี 2525
ซอยเดียวกัน ได้รับรางวัลซีไรท์ ปี 2527
แม่เบี้ย ได้รับรางวัลชมเชยประเภทนวนิยายในงานสัปดาห์หนังสือ แห่งชาติ ปี 2530
นอกจากนี้ก็มีเรื่องสั้นหลายเรื่องได้รับรางวัลจากกลุ่มวรรณกรรมพินิจ เรื่องสั้นมิชิแกนเทสต์ ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ แม่เบี้ย ตุ๊กตา และเคหาสน์ดาว มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ และ ละครโทรทัศน์
-------------------------------------
* วาณิช จรุงกิจอนันต์ เขียนคอลัมน์ประจำในนิตยสารมติชนมาหลายปี ด้วยสำนวนลีลาปากร้าย วิจารณ์งานเขียนเจ็บแสบผิดจากงานเขียนอารมณ์ตลกๆของเขาในยุคแรกๆ มีคนกล่าวว่านั่นเป็นบุคลิกที่เขาจงใจสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวตนของเขา แต่เมื่อต้นปี 2549 มานี้เขาก็เกิดกรณีขัดแย้งกับผู้บริหารในมติชนเรื่องการถือหุ้นของแกรมมี่จนถึงขั้นรุนแรงแตกหัก

จากความตั้งใจของผู้เขียนนี่เอง ทำให้ซอยเดียวกันสำเร็จเป็นรูปเล่มในปีพ.ศ. 2526 และหนังสือเล่มนี้ก็เป็น 1 ใน 47 เล่มที่ผ่านเข้าพิจารณารางวัลซีไรต์ ด้วยเหตุว่าหนังสือเล่มนี้มีกลวิธีการนำเสนอที่แปลกใหม่ กล้าสร้างสรรค์รูปแบบที่แตกต่าง มีเนื้อหาสะท้อนชีวิตได้อย่างโดดเด่น บวกกับฝีมือทางวรรณศิลป์ ทำให้ซอยเดียวกันกลายเป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ในปีพ.ศ. 2527
**คัดจาก วาณิช จรุงกิจอนันต์
จากหนังสือ100 นักประพันธ์ไทย ผศ. ประทีป เหมือนนิล
เมื่อวันที่ : ๒๗ มิ.ย. ๒๕๔๙, ๑๐.๔๔ น.
ทัศนะของวาณิช จรุงกิจอนันต์ ต่อการอ่านหนังสือ............
การอ่านหนังสือจะทำให้เป็นคนเต็มคน
วาณิช จรุงกิจอนันต์
เคยมีคนถามบ่อยว่ามีนักเขียนที่ชอบไหม ผมไม่ได้ปฏิเสธว่าผมไม่มี แต่ผมรู้สึกว่าผมไม่มี แต่พอนึกเข้าจริงๆ ผมอ่านงานของอาจารย์คึกฤทธิ์เยอะมาก ผมเข้าใจว่าอาจารย์คึกฤทธิ์น่าจะมีอิทธิพลต่อการเขียนหนังสือของผมมากพอสมควร เคยมีคนทักว่าผมเขียนหนังสือคล้ายๆท่าน
เข้าใจว่าผมน่าจะได้รับอิทธิพลมาบ้างจากฮิวเมอริสต์ ผมเขียนหนังสือไม่เหมือนฮิวเมอริสต์หรอก แต่ผมชอบอ่านงานของฮิวเมอริสต์ ก็น่าจะได้รับอิทธิพลมาบ้างจากการเล่นภาษา หรืออารมณ์ขันต่างๆ
ผมอ่านหนังสือนิยายพาฝันเยอะมาก ของ ทมยันตี, กฤษณา อโศกสิน, พนมเทียน, นักเขียนพวกนี้อาจจะมีอิทธิพลเกี่ยวกับการที่ผมมาเขียนหนังสือในปัจจุบันไม่มากก็น้อย
ถ้าถามหนังสือเป็นเล่ม ผมนึกไม่ออกว่าเล่มไหนที่ผมฝังใจ อ่านประจำ อาจจะมีคือ ผู้ชนะสิบทิศ ของยาขอบ ที่ผมอ่านหลายครั้ง ผมอ่านเอาความโรแมนติกมากว่าอย่างอื่น
เรื่องของอาจารย์คึกฤทธิ์ ชอบทุกเล่ม แต่ที่อ่านซ้ำเป็นต้นว่า สี่แผ่นดิน , พม่าเสียเมือง เป็นการอ่านซ้ำเพื่อเตือนความจำมากว่า
ไม้ เมืองเดิมผมก็ชอบ
บทกวีชอบ ขุนช้างขุนแผน ,นรินทร์อินทร์, เจ้าฟ้ากุ้ง อีตาเนาวรัตน์ก็ชอบ เป็นคนเขียนบทกวีที่เด่นมาก มีประเด็น มีภาษา สุจิตต์ วงษ์เทศ ไพบูลย์ วงษ์เทศ ต้องอ่าน กวีของเรวัตร พันธุ์พิทักษ์ ก็เขียนดี ของไพวรินทร์ ขาวงาม ก็ชอบ
แต่บทกวีที่มีบทบาทในความคิดความชอบของผมมากที่สุด ส่วนใหญ่มาจากเพลง อย่างราชินีปากน้ำ เพลงสุนทราภรณ์ยุคท้าย หรือ เพลงลูกทุ่งเก่าๆเช่นน้ำตาในสายฝน ของสุวารี เอี่ยมใอ หรือ มนต์รักลูกทุ่งของไพบูลย์ บุตรขัน และเพลงอีกมากมายของเขา ถือว่าเป็นบทกวีที่ดีเยี่ยม คลาสสิค
กลอนเปล่าผมไม่ปฏิเสธ แต่ผมไม่เคยอ่านกลอนเปล่าบทไหนที่ดีและจำได้ฝังใจเลย กลอนเปล่าเริ่มต้นในประเทศนี้มาจากคาริน ยิบราน "เมื่อความรักเรียกร้องเธอจงตามมันไป ไม่ว่าหนทางของมันจะขลุขลักและชันเพียงใด..." อ.ระวี ภาวิไล แปลจากบทกวีของคาริน ยิบราน อย่างนั้นฝังใจ เพราะเป็นเรื่องของประเด็นความคิด และภาษาที่แปล
หนังสือแปลผมอ่านน้อยมาก แทบไม่ได้อ่าน ผมไม่ชอบอ่านหนังสือแปล บอกไม่ถูก ถ้าอยากจะอ่านเรื่องนั้นจริงๆผมอ่านภาษาอังกฤษ เพราะผมอ่านแปลแล้วสะดุดตลอด ผมรู้วัฒนธรรมฝรั่ง โดยเฉพาะอเมริกัน เพราะอยู่ที่นั่นมาระยะหนึ่ง อ่านเรื่องแปลแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่ แม้ภาษาอังกฤษของเราจะครึ่งๆกลางๆแต่ภาษาไทยเราดี แต่อ่านแล้วแปลกๆ ความเห็นผมมักไม่สอดคล้องกับสิ่งที่อ่านเจอจากหนังสือแปล หนังสือแปลที่อ่านเอาจริงเอาจังเล่มสุดท้ายคือ ปาปิยอง ของ ธนิต ธรรมสุคติ เมื่อสัก 30 ปีก่อน อ่านอย่างเพลิดเพลินมาก ชอบ เขาแปลดี ยังไม่ได้อ่านภาษาอังกฤษ เมื่ออ่านภาษาอังกฤษก็ยังรู้สึกว่าพี่ธนิตแปลดี
หนังสือต่างประเทศผมชอบอ่านมาเฟียในอเมริกา ผมมีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้เยอะมาก คิดว่ามากกว่าใครในประเทศนี้ ตอนอยู่อเมริกาก็อ่าน กลับมาก็ซื้ออ่านสะสมซื้อเก็บไว้เยอะมาก อ่านเพราะชอบ รู้สึกสนุก เป็นเรื่องของนักเลง
ชอบอ่านหนังสือประวัติศาสตร์หรือชีวิตบุคคล แถวๆนี้ วรรณกรรมหรือนิยายจะอ่านน้อย แต่ รวมเรื่องสั้นที่ดีที่สุดของอเมริกัน ในรอบปีผมพยายามจะซื้อ อ่านไม่ค่อยจบ อ่านได้เรื่องสองเรื่องแล้วก็เลิกไปเสียเฉยๆ ขี้เกียจเปิดดิกชันนารี อ่านเพื่อดูว่าแวดวงเรื่องสั้นของโลกมันไปยังไงแล้ว
ผมบอกได้อย่างหนึ่งว่าการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ดีแน่ ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์อะไรอีก การอ่านหนังสือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับคนรักการอ่าน ลูกผมทุกคนเป็นคนมีนิสัยรักการอ่าน ลูกสาวคนโตที่เป็นหมอฟัน อ่านหนังสือนิยายทั้งไทยและต่างประเทศ รับนิตยสารผู้หญิงหลายเล่ม เป็นนิสัยที่มาอย่างเดียวกับแม่เขา เพราะแม่เขาก็ชอบอ่าน
ลูกคนโตผมก็อ่านหนังสือพิมพ์รายวันทุกวัน ซึ่งสมัยผมกว่าที่จะอ่านหนังสือพิมพ์รายวันทุกวัน ผมเรียนปี 3 มหาวิทยาลัยแล้ว ผมเคยไปสอนหนังสือถามว่ามีใครอ่านหนังสือพิมพ์รายวันทุกวันบ้าง แทบจะไม่มีเลย ผมเชื่อว่าหนังสือพิมพ์รายวันคนเรียนระดับมหาวิทยาลัยควรต้องอ่านทุกวัน ฉบับใดฉบับหนึ่ง และควรมีนิตยสารประจำตัวไว้อ่าน 1 เล่ม ผู้ชายควรจะอ่านหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์เล่มใดเล่มหนึ่ง มติชนสุดสัปดาห์ หรือสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ หรือเนชั่นควรมีหนังสือที่ตัวเองอ่านประจำอยู่ 1 เล่ม เพราะจะทำให้ตัวคนอ่านนั้นเป็นคนเต็มคน ไม่ใช่พูดอะไรมาแล้วไม่รู้เรื่อง เพราะเด็กทุกวันนี้ความรู้รอบตัวต่ำมาก ถึงระดับเลวร้ายเลยนะ เมื่อเปรียบกับเด็กรุ่นผมที่อ่านหนังสือ
ลูกคนเล็กของผมก็เป็นนักอ่าน อ่านนิยาย หนังสือการ์ตูน และเริ่มที่จะเขียนหนังสือ ก็มีสิ่งที่คล้ายผม ไม่เคยสั่งสอน ก็ได้แต่สนับสนุน ประเด็นคือคนเราควรมีหนังสือพิมพ์ประจำตัวทุกคน อย่างน้อยควรอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน ไม่ต้องอ่านทุกหน้าแต่เอาไว้ตามข่าวสาร ไม่ใช่แค่การดูโทรทัศน์
หนังสือพิมพ์รายวันผมรับ 5 ฉบับคือข่าวสด, มติชนรายวัน, เดลินิวส์, ไทยรัฐ, บางกอกโพสท์ รายสัปดาห์ก็ มติชนสุดสัปดาห์ นิตยสารลูกรับกลาดเกลื่อนไปหมด ไม่รู้ว่าเป็นอะไรบ้าง
การอ่านหนังสือมีประโยชน์แน่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับว่าอ่านเป็นหรือเปล่า มีนิสัยหรือเปล่า
การอ่านหนังสือทำให้คนเต็มคน