![]() |
![]() |
จันทน์กะพ้อ![]() |

ตอน : ความเป็นมาของรางวัลรางวัลซีไรต์

S.E.A. WRITE AWARD มาจากคำเต็มว่า SouthEast Asian Writers Award แปลเป็นภาษาไทยว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน
รางวัลซีไรต์ หมายถึง รางวัลวรรณกรรมที่มอบให้แก่นักเขียน 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยมี เจตนารมย์เพื่อส่งเสริมนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียนและเผยแพร่วัฒนธรรมของวรรณกรรมของภูมิภาคนี้
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ประวัติความเป็นมาของรางวัลซีไรต์
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2522 ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ลได้ริเริ่มรางวัลนี้ เนื่องจากโรงแรมโอเรียนเต็ลมีประวัติเกี่ยวข้องกับนักเขียนชั้นนำของโลกมาเป็นเวลาช้านาน จะเห็นได้จากการที่อาคารเก่าแก่ของโรงแรมที่ชื่อว่า "ตึกนักเขียน" (AUTHORS RESIDENCE) อันประกอบด้วยห้องชุดพิเศษ โดยใช้ชื่อนักเขียนคนสำคัญที่เคยมาพัก ได้แก่ ซอมเมอร์เซ้ท มอห์ม โนเอล โฆเวิด โจเซฟ คอนราด และเจมส์ มิเชนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องชุดเกรแฮม กรีน จอห์น เลอ คาร์เร่ และ บาร์บาร่า คาร์ทแลนด์ ในตึกริเวอร์วิงด้วย
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ล จึงได้ร่วมปรึกษากับ บริษัท การบินไทย และกลุ่มบริษัทในเครืออิตัลไทย จัดตั้งรางวัลวรรณกรรมนี้ขึ้น โดยมีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรงเป็นประธานและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย
หัวข้อในการหารือในครั้งนั้น คือ การส่งเสริมสนับสนุนนักเขียนในกลุ่มอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ไทย และการเผยแพร่ให้โลกรู้ถึงวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของภูมิภาคนี้ ต่อมาได้มีประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนทยอยเข้าร่วมงานซีไรต์จนครบสิบประเทศดังนี้ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
ประเทศบรูไนดารุสซาลัมเข้าร่วมเมื่อปี 2529 ประเทศเวียดนามเข้าร่วมเมื่อปี 2539 ประเทศลาว และพม่าเข้าร่วมเมื่อปี 2541 ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเมื่อปี 2542
วัตถุประสงค์มีดังนี้ คือ
*เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน
*เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่มประเทศอาเซียน
*เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะ ทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้สร้างสรรค์
*เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน
กฎเกณฑ์การเลือกสรรงานวรรณกรรม มีดังนี้ คือ
*เป็นงานเขียนภาษาไทย
*เป็นงานริเริ่มของผู้เขียนเอง มิใช่งานแปลหรือแปลงจากของผู้อื่น
*ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงานเข้าประกวด
*เป็นงานตีพิมพ์เผยแพร่ (มี ISBN) เป็นเล่มครั้งแรกย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ภายในวันสิ้นกำหนดส่งงาน
*งานวรรณกรรมที่เคยได้รับรางวัลอื่นใดในประเทศไทยมาแล้วจะส่งเข้าพิจารณาอีกก็ได้
*รางวัลที่ตัดสินในแต่ละปีจะสลับประเภทของวรรณกรรม เป็น นวนิยาย กวีนิพนธ์ และเรื่องสั้น
รางวัลประกอบด้วย
*แผ่นโลหะจารึกเป็นอนุสรณ์เกียรติประวัติ
*นักเขียนไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์มีสิทธิเลือกไปเที่ยวประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยผู้จัดจะเป็นผู้ออกค่าเดินทาง ค่าที่พัก และอาหาร ทั้งหมด สามารถใช้สิทธิภายในระยะเวลา 1 ปี
*นักเขียนกลุ่มประเทศอาเซียน 9 ประเทศ มารับรางวัลพร้อมกับทัศนาจรที่ประเทศไทยกับนักเขียนซีไรต์ไทย เป็นเวลา 1 สัปดาห์
*เงินสด
รางวัลซีไรต์
เมื่อวันที่ : ๐๓ ต.ค. ๒๕๔๘, ๐๔.๔๑ น.
ขอบคุณค่ะที่นำข้อมูลมาเล่าให้ฟัง รางวัลซีไรต์แต่ก่อน พิลกริมจำได้ว่าฮือฮากว่านี้มาก หลังๆรู้สึกกระแสไม่ค่อยแรง ว่าไหมคะ ทั้งที่เป็นเรื่องน่าส่งเสริมและมีคุณค่า