![]() |
![]() |
เปิดฟ้า ก้องหล้า![]() |
...เพราะ...ลุงนั่นแหละ หน้าตลาดสดสองข้างทางแน่นด้วยแม่ค้าพ่อค้า ซีกติดกับตลาดขายผักขายปลา ด้านตรงข้ามขายผักผลไม้ มีผู้คนเดินควักไขว่...
เพราะ...ลุงนั่นแหละหน้าตลาดสดสองข้างทางแน่นด้วยแม่ค้าพ่อค้า ซีกติดกับตลาดขายผักขายปลา ด้านตรงข้ามขายผักผลไม้ มีผู้คนเดินควักไขว่ เสียงเจี๊ยวจ๊าวการต่อรองราคาและการสนทนาถามสารทุกข์สุกดิบกันตามประสา
"สวัสดี จ๊ะลุง" สามสาวเรียงหน้ากันเขามาพบลุงคนหนึ่งซึ่งชราพอสมควรอายุประมาณ 70 -- 80 ปีนั้นแหละ พนมมือไหว้พร้อมถอนสายบัว ลุงยกมือขึ้นรักไหว้ด้วยอาการงง ๆ
"สวัสดีจ้า เป็นมาอย่างไร เป็นลูกเต้าเหล่าใครที่ไหนกัน" ชายชราถาม
"พวกหนูทั้งสามคนและเพื่อน ๆ ได้เรียนจบมหาวิทยาลัยและได้ทำงานกันทุกคนแล้ว"สาวคนสูงโปร่งพูดแทนทุกคน
"อย่างไรหรือ ลุงงงหมดแล้ว เป็นลูกศิษย์ของลุงหรือ" ลุงถามด้วยความสงสัย
"ไม่ใช่ลูกศิษย์ค่ะ แต่เราได้คุยกันที่หาดแสนสุขลำปำเมื่อ 7 ปีก่อน เพราะพูดคุยกับคุณลุงจึงทำให้พวกเราจึงมีวันนี้ หนูขอชื่อ นามสกุลและสถานที่อยู่ของคุณลุงด้วยนะค่ะ จะได้ไปเยี่ยมเมื่อมีโอกาส
"ได้จะหลาน ๆ"
ลุงหยิบการ์ดบอกชื่อลุงให้คนละใบ แล้วเธอทั้งสามก็ลาจากไป ปล่อยให้ลุงงุนงงสงสัยต่อไปอีก
กลับถึงบ้านทานข้าวแล้วลุงก็เปิดพัดลมนั่งสงบระลึกภาพย้อนไปในอดีตเมื่อ 7 ปีที่แล้วมา
นึกออกแล้ว วันนั้นที่หาดแสนสุขลำปำกับนักเรียนหญิงจำนวนหนึ่งซึ่งไปเที่ยวสนุกสนานกันในชั่วโมงอิสระ เกือบทั้งห้อง แต่ส่วนหนึ่งประมาณ 6 -- 7 คน ได้ข้ามฝั่งไปในหาดแสนสุขลำปำ
บริเวณสถานที่ท่องเที่ยวลำปำ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งอยู่บนหาดทะเลสาบลำปำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาบสงขลา ขี่รถไปจากในเมืองถึงลำปำประมาณ 8 กิโลเมตร
ประมาณกิโลเมตรกว่า ถนนเรียบไปกับลำคลองขนาดใหญ่ทางฝั่งขวา ซึ่งเรียกว่าแม่น้ำลำปำ ฝั่งตรงข้ามกับคลอง(ฝั่งซ้ายของถนน)มี สถานีอนามัย สถานีเพาะพันธ์ปลา ของกระทรวงเกษตร กรมประมง สถานีตำรวจประจำตำบล สถานีวิทยุ สถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่ตากอากาศ มีร่มสนลมพัดเย็นสบาย สถานที่ตากอากาศ มีโรงเรือน และสถานที่จัดเวทีการแสดง มีศาลากลางน้ำ ฝั่งขวาเป็นเกาะขนาดย่อม 25 ตารางไร่ มีต้นไม้ร่มเย็น มีสถานที่นั่งพักผ่อนตากอากาศ เป็นม้าหินอ่อนวางเรียงรายใต้ต้นไม้เป็นระยะ ตรงกลางเกาะมีปาร์มอยู่ส่วนหนึ่ง
วันนั้นลุงไปลำปำเพื่อจะได้บรรยายบรรยากาศ เขียนบทความ เรื่องสั้นและบทประพันธ์ตามประสาคน แก่ ๆ
ลุงจอดรถไว้บนลานถนนส่วนหน้าของจุดกลับรถไว้ใต้ตนประดู่ด้านหน้าสวนสนุกแล้ว จึงสะพายกระเป๋าเดินผ่านประตูสวนสนุก ทางเข้าซึ่งมีป้าย ห้ามรถ ลุงเดิน ผ่านอาคารต่าง ๆ ห้องน้ำ ผ่านสถานที่แสดงรูปหนังตะลุง วางเรียงเป็นซุ้มเป็นแนวกลางลานจากข้างหน้าไปด้านหลังอยู่ใกล้กับเวทีการแสดงกิจกรรม และการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เดินผ่านศาลาเวทีกิจกรรมจนถึงเชิงสะพานข้ามฝากไปยังฝั่งหาดแสนสุขลำปำซึ่งอยู่ทางขวามือ ลุงได้พบกับนักเรียนมัธยมปลายจำนวนหนึ่ง กำลังถ่ายรูปกันอยู่ที่เชิงสะพาน พวกเธอยืนเต็มพื้นที่ไม่สามารถเดินผ่านไปได้ เขายืนหันหลังให้ลุงจึงไม่เห็นว่าลุงกำลังเดินมาถึงสะพานและกำลังจะใช้สะพานผ่านไปฝั่งโน้น
สะพานเป็นสะพานไม้เฉพาะส่วนพื้น ด้านข้างกั้นสูงด้วยโครงเหล็กกันมิให้รถตกลงไปในคลอง ซึ่งทำด้วยไม้เรียบขวางตลอดประมาณ 200 เมตร ยังมีไม้แผ่นหนา รองรับรอยล้อรถข้างละสามแผ่นยาวตลอดสะพานอีก
"สวัสดีจ้า สาว ๆ นักศึกษา กำลังทำอะไรกันอยู่"
"สวัสดีค่ะ" เมื่อหันมามองผู้สูงวัยบางคนก็ไหว้บางคนก็ถอนสายบัวบางคนก็ยืนนิ่ง แต่กล่าวคำสวัสดีทักทายด้วย
"วันนี้ไม่เรียนกันหรือ"
"ไม่เรียนค่ะ เป็นวิชาอิสระ และคุณครูประชุมด้วยจึงได้มาเที่ยวกัน
"เรียนสนุกไหม"
"ไม่จ้า ไม่สนุกเลย บางครั้งปวดหัว บ่างครั้งครูดุ บางครั้งขี้เกียจขึ้นมาง่าย" นักเรียนคนหนึ่งตอบ
"ลุงจะไปไหนจะ เดินมาทางนี้"
"ลุงไปนั่งพักผ่อนสนุก ๆ"
"ที่ลุงสะพายมาในกระเป๋าเป็นเสบียงอาหารหรือคะ"
"มิใช่ขนม แต่เป็นหนังสือ และกระดาษ"
"หนูคิดว่าขนมจะได้ขอทานบ้างชักจะหิวอยู่แต่ก็ต้องผิดหวังตามเคย"
"คุณลุงจะไปหาที่สงบอ่านหนังสือหรือ"
"ลุงจะเขียนมากกว่าอ่านเมื่อออกมาอย่างนี้ถ้าอยู่ที่บ้านลุงจะอ่านมากว่าเขียน"
"มีหนังสือให้อ่านไหมค่ะ"
"มีจ้า แต่ต้องไปอ่านที่โต๊ะม้าหินอ่อนใต้ต้นไม้ริมขอบด้านตะวันออกของเกาะ เมื่อข้ามสะพานไปได้แล้ว ซึ่งสามารถมองเห็นสำนักงานและลานจอดรถได้ ลุงจอดรถไว้ที่นั้น"
"ไปค่ะ มาพวกเราไปอ่านหนังสือกัน"
"หนังสืออะไร"
"หนังสือของลุง"
"มีมากไหมลุง"
"มีประมาณ 10 เล่ม สิบเรื่องเล่ม บาง ๆ"
"ใครเขียนหรือลุง"
"ลุงเขียนเอง"
"ไปก็ไป เอาพวกเราไปอ่านกัน"
ลุงนำเดินข้ามสะพานาไปแล้วเลี้ยวขวาลงไปในสนามเดินตรงไปใต้ร่มไม้ตัวที่สามซึ่งตั้งอยู่ใต้ต้นไม้มีหญ้าเขียวชอุ่ม ระยะทางประมาณ 20 เมตรจากเชิงสะพาน
ลุงเลือกโต๊ะหินอ่อนชุดที่พอเหมาะกับสถานภาพแล้ว ใช้ผ้าเช็ดโต๊ะที่เตรียมมาจากบ้านเช็ดโต๊ะ เช็ดใบไม้ออกจากโต๊ะและ ม้านั่ง เช็ดมูลนกออก ขณะที่ทำงานอยู่นี้ได้เห็นนกและได้ยินเสียงนกหลายชนิด มันบินไปบินมา บ้างกระโดดโลกเต้น บ้างจิกอาหาร บ้างไล่จิกกัน สนุกนานไปตามธรรมชาติของมัน
"เชิญนั่งเถอะนะ"
"ค่ะ ขอบคุณค่ะ" ทุกคนมานั่งลงบนม้านั่งล้อมโต๊ะไว้ปล่อยให้เหลือว่างอยู่หนึ่งที่นั่งสำหรับคุณลุง
ลุงลากกระเป๋า รูดซิพปากกระเป๋าออก ล้วงมื่อลงไปหยิบหนังสือเล่มบาง ๆ ประมาณเล่มละ 9 -- 10 เล่ม ซึ่งแต่ละเล่มบรรจุเรื่องสั้นไว้ 1 เรื่อง
"หนังสือที่ลุงเขียนขึ้นเองเป็นเรื่องสั้น คงพอจะอ่านได้ ใครอยากจะอ่านบ้าง" ลุงถาม
"ฉันค่ะ ฉันชอบอ่านหนังสือมาก ๆ"
"ดีมาก ถ้าเธอชอบอ่านหนังสือ ต่อไปในอนาคต เธอโตขึ้นจะได้เป็นผู้นำทางปัญญาในสังคมที่เธออาศัยอยู่ ลุงขอบใจพวกเธอนะที่ชอบอ่านหนังสือ ก่อนที่เธอจะได้อ่านหนังสือเหล่านี้ ลุงอยากจะถามเธอว่า"
"คุณพ่อคุณแม่ให้เงินมาโรงเรียนวันละเท่าไร" ลุง
"ฉันได้ 100 บาทค่ะ"
"ฉันได้ 80 บาทค่ะ"
"ฉันได้ 60 บาทค่ะ"
"ลุงอยากถามว่าพวกเธอแต่ละคนจ่ายพอหรือไม่"
"พอค่ะ"
"ฉันก็ไม่พอค่ะ"
"ทำไมไม่พอละ"
"ค่าโดยสารวันละ 40 บาท ค่าอาหาร น้ำดื่มวันละ 30 บาท ค่าใช้สอยอื่น ๆ 30 บาทค่ะ"
"เธอคิดว่าแต่ละวันพวกเธอได้เงินมาเยอะไหม" ลุง
"ไม่เยอะค่ะ"
"เออ ช่างมันเถอะ ลุงอยากทราบว่า ใครให้เงินพวกเธอมาโรงเรียน หรือว่าพวกเธอหาได้เอง"
"ไม่คะ หนูหาเงินเองไม่ได้ แต่ คุณพ่อคุณแม่ท่านหาเงินให้พวกเราจ่ายค่ะ"
"พ่อแม่ของเราทำงานอะไร งานหนักไหม เหนื่อยไหม" ลุง
"พ่อดิฉันเป็นโซเฟอรรถค่ะ"
"พ่อแม่ของฉันเป็นเจ้าของกิจการร้านขายของชำคะ"
"พ่อของหนูทำกิจการปลูกและขายผักค่ะ"
"พ่อของหนูเป็นายอำเภอค่ะ"
"เราทราบไหมว่าพ่อแม่ท่านทำงานตั้งแต่ตอนไหน" ลุง
"ตั้งแต่ตอนเช้าเจ็ดโมงค่ะ"
"ตั้งแต่แปดโมงเช้าค่ะ"
"ตั้งแต่บ่ายสี่โมงเย็นจนเที่ยงคืนค่ะ"
"เธอได้พบคุณพ่อคุณแม่บ่อยไหม" ลุงถาม
"ไม่บ่อยนักค่ะ ท่านต้องไปทำงานแต่เช้า กลับมาก็ค่ำมืด บางวันพวกเราก็เข้านอนกันแล้ว ท่านออกกำลังกาย ไปงานเพื่อน ไปพักผ่อน และไปร่วมกิจกรรมกับเพื่อนร่วมงานค่ะ"
"เธอคิดว่าพ่อแม่ท่านเหนื่อยไหมครับ" ลุง
"ไม่ทราบหนูไม่เห็นท่านตอนท่านทำงาน ฉันคิดว่าคงจะไม่เหนื่อย เพราะท่านไปถึงก็อ่านแฟ้ม เซ็นชื่อ ผ่านไปง่ายนิดเดียว บางครั้งก็ไม่ได้อ่าน ท่านคงจะไม่เหนื่อยค่ะ"
"ใครว่าพ่อแม่ท่านทำงานไม่เหนื่อย"
"ท่านคงจะเหนื่อยเช่นกัน เห็นมาถึงบ้านเปลี่ยนเสื้อผ้า ตั้งหลังก็หลับ"
"บางวันท่านนอนไม่หลับ นอนกระสับกระส่าย พลิกกลับไปกลับมา นั่งบ้างนอนบ้าง กว่าจะหลับได้ก็ดึก"
"นั้นแหละ อาการอย่างนั้นแสดงว่าท่านเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ถ้าพ่อของลูกเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้างาน จะต้องรับผิดชอบต่อคนงานเป็นจำนวนมาก ต่อความเจริญเติบโตก้าวหน้าของบริษัท ท่านต้องรับผิดชอบทุกอย่าง ต้องคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหา หาวิธีการทำให้บริษัทมีความเจริญก้าวหน้า จะทำให้บริษัทเจริญมั่นคงอยู่ได้นาน"
"พวกเราเคยช่วยเหลืองานพ่อแม่ไหม มีการทำอะไรที่เป็นการช่วยผ่อนแรงของพ่อแม่บ้าง"
"ไม่มีค่ะ"
"ฉันมีค่ะ"
"พวกเธอลองเปรียบเทียบดูระหว่างงานใช้สมองใช้ความคิดไหม เกี่ยวกับงานที่ต้องใช้กำลังกายเป็นหลักว่า มันเหนื่อยไม่เหมือนกัน"
"ถ้าเธออยากรู้ว่าพ่อแม่จะเหนื่อยอย่างไร ก็ให้เธอช่วยเหลืองานพ่อแม่ แล้วเธอจะรู้ว่าความเหน็ดเหนื่อยนั้นเป็นอย่างไร"
"พ่อแม่ทำนาเราก็ช่วยทำนา พ่อแม่ค้าขายเราก็ช่วยขายของ ทำงานทั้งวัน บางวันงานต้องแข่งกับกับเวลา เหนื่อยครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ต้องอดทน บางครั้งอาจจะเหนื่อยต่อการประกอบอาชีพ ก็ไม่สามารถหยุดทำงานได้ เพราะต้องหาเงินใช้จ่ายในครอบครัว ถ้าล้มป่วยลง ต้องเอาเงินรักษาป่วย ค่าเล่าเรียน ค่าขนม ค่าหนังสือ ค่าเสื้อผ้า ค่าของใช้จิปาถะ ก็เป็นหยดเหงื่อแรงงานของพ่อแม่ทั้งนั้น ไม่ไม่มีเวลาจะพักผ่อน ทุกคนทำเพื่อลูกตนทั้งนั้น"
"ถ้าลูกทำงานแล้วจะรู้และพบว่าตนทำงานแล้วเหนื่อยอย่างไร จะได้รู้ว่าพ่อแม่เหนื่อยอย่างไร"
"ไม่ได้ค่ะ ถ้าพ่อไม่ทำงาน ก็จะไม่มีเงิน พวกเราจะเอาเงินที่ไหนไปโรงเรียน ไปร่วมกิจกรรม ซื้อเสื้อผ้า และอื่น ๆ อีกมากมาย
"ถ้าสมมุติว่าพ่อแม่ประสบอุบัติเหตุถึงพิการหรือเสียชีวิต เราจะเอาเงินมาจากไหน ใช้จ่ายในการศึกษา การอยู่กินแต่ละวัน"
"ก็เราทำงานหาเงินมาใช้จ่ายเอง"
"ถ้าเราหาเงินใช้จ่ายเองตอนนี้ เราจะได้มีเวลาเรียนหรือไม่"
"เราก็ไม่ได้เรียน"
"ฉะนั้นพ่อแม่มีค่ามีคุณสำหรับพวกเรามากไหม"
"มีค่ะ"
"ใช่ ท่านมีคุณค่า มีประโยชน์ มาตั้งแต่เราอยู่ในท้องแล้ว แม่ถะนุถนอมแม้ลูกจะหนักอึ้ง เดินอืดอาดอุ้ยอ้ายก็ตาม แม้แม่จะท้องโตก็ตาม แม่ก็ต้องทำงานหาเงิน หุงข้าวปิ้งปลา ซักเสื้อผ้า ฯ ให้พวกเราอีก"
"ถ้าเราเอาของหนักประมาณ 2 ก.ก. มาผูกติดไว้กับหน้าท้องของลูก ลูกจะทนไหวไหม เหนื่อยไหม เบื่อไหม จะทนได้เช่นแม่ไหม"
ผู้หญิงทุกคนเสี่ยงกับความตายที่สุด ความปวดที่สุดตอนคลอดลูก ได้เกิดมาแล้ว แม่ยังต้องเลี้ยงดู ถนุถนอม ขนาดพวกเราอายุปานนี้แล้ว พ่อแม่ยังหาเงินเลี้ยงดูพวกเราอยู่อีก"
"พวกเราจะทำอย่างไรดี"
"พวกเราช่วยงานท่าน ช่วยเหลือท่าน ถ้าเราเหนื่อย เราก็จะรักพ่อแม่ บูชาพ่อแม่ ศรัทธาพ่อแม่ เราก็จะทำงานทุกอย่าง แม้แต่การเรียน การทำงานบ้าน งานครัว งานอื่น ๆ เพื่อให้พ่อแม่ท่านสบายใจ ผลงานของพวกเรา เช่น ผลการเรียน และงานที่ทำสำเร็จจะเป็นการตอบแทนบุญคุณของท่าน คือท่านมีความปิติ มีความสุขสบายใจ
และเป็นกำลังใจให้ท่านทำงานเพื่อลูกอีกต่อไปอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยตลอดไป"
"ทุกวันนี้ใครที่ไม่ได้ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน มีบ้างไหม" ลุงถาม
"มีค่ะ มีค่ะ มีค่ะ....ๆๆๆ"
"ลูกไม่มีจิตใจเอ็นดูสงสารพ่อแม่บ้างหรือ มีโอกาสลูกแอบไปดูคุณพ่อคุณแม่ทำงานบ้างซิ ว่าท่านเป็นอยู่อย่างไร"
"ฉันช่วยพ่อแม่ทำงานก่อสร้าง วันโรงเรียนหยุดเรียน และปิดภาคเรียนเสมอ"
"เธอเห็นพ่อแม่ของเธอทำงานแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างนะ"
"ฉันเห็นค่ะ หนูว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นปกติของท่าน หนูไม่ได้คิดจะช่วยท่าน มิได้คิดว่าท่านจะเหนื่อย"
"วันว่าง ๆ เธอไปช่วยทำงานพ่อแม่ท่านบ้างซิ เช่นช่วยยกปูน แบกของ ช่วยซักผ้า ช่วยดายหญ้า ช่วยทำความสะอาด ช่วยทำครัว ฯลฯ แล้วเราจะรู้ว่าพ่อแม่เหนื่อยอย่างไร"
"พ่อแม่ฉันเป็นข้าราชการ"
"นั้นแสดงว่าท่านเหนื่อยใจมากกว่า เหนื่อยเพราะต้องใช้สมองในการคิดปกครองให้สมาชิกอยู่กันด้วยอย่างมีความสุข การรับผิดชอบงานโครงการต่าง ๆ ที่หน่วยงานจัดวางไว้ ต้องให้สำเร็จตามเป้าหมาย ถ้างานสำเร็จจะได้รับความดีความชอบ เงินเดือนเพิ่มขึ้น ลูกฝึกปกครองน้อง หรือเพื่อน ๆ หรือศึกษาหาความรู้ ค้นหาความรู้มาก ๆ ก็จะเหนื่อยเช่นกัน มันจะมีประโยชน์มาก เช่น ..."
"คนที่ทำงานใช้กำลังกาย ก็จะมีร่างกายแข็งแรงไม่ค่อยเจ็บป่วย สุขภาพแข็งแรง ลองดูคุณลุง คุณน้า คุณอา คุณยาย ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ แสดงว่าทำงานตอนหนุ่ม ๆ มาก"
"เมื่อพวกเราช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน พ่อแม่จะมีความสุข เป็นการตอบแทนพระคุณของท่านและเป็นสิริมงคลกับตนเอง ทำมาหากินมีความเจริญก้าวหน้าโดยอัตโนมัติ"
"จงระลึกเสมอว่า พ่อแม่คือเทวดาผู้ยิ่งใหญ่ของพวกเรา ท่านคือพระพรหม หมายถึงพรหมสี่หน้า"
"ท่านเป็นพระพรหมตั้งแต่เมื่อไร เห็นมีหน้าเดียวตลอดมา"
"มีได้หมายความว่าท่านมีสี่หน้าจริงหรอกนะ หมายถึงธรรมะอันประเสริฐ 4 ประการที่ท่านมีต่างหาก หน้าแรกหมายถึง เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาตามลำดับ"
"ลูก ๆ จงคิดย้อนหลังว่า มีสิ่งใดบ้างที่พ่อแม่ได้มีเป้าหมายที่จะทำให้ลูก เมื่อให้แล้วท่านจะต้องการคืนไหม ยามเจ็บป่วยท่านหนีห่างพวกเราไหม ยามทุกข์ร้อนใจ ใครช่วยเหลือเราโดยมิคิดคุณค่า ท่านเป็นพระพรหมของพวกเรา เราต้องเคารพบูชาด้วยความศรัทธา
"ลูก ๆ อยากเป็นเทวดากันไหม"
"อยากเป็นค่ะ"
"ถ้าอยากจะเป็นก็ง่ายนิดเดียว เพียงแต่พวกเราช่วยเหลือพ่อแม่ ช่วยเหลือสังคม และช่วยเหลือตนเองตามหน้าที่ ด้วยอิทธิบาทสี่ เท่านี้ก็จะเจริญยิ่ง แล้วก็เป็นเทวดาที่มีบุญบารมีแล้ว"
"อิทธิบาทสี่คืออะไรนะ ครูได้สอนมาแล้ว หนูลืมเสียแล้ว มันอยู่ปลายลิ้นนี่กำลังจะนึกออกอยู่แล้ว"
"ธรรมแห่งความสำเร็จไงละ ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสะ ดังที่พระมหาชนกทรงบำเพ็ญความเพียร จนนางเมฆลาสงสารช่วยเหลือและได้พบกับความรักและครองเมืองอย่างมีความสุขในเวลาต่อมา
"แค่นี้หรอกหรือ"
"ใช่จ้ะ แต่เทวดาจะต้อง มีหิริโอตตัปปะ อีกด้วย"
"หมายถึงอะไรค่ะ"
"หมายถึงความละอายต่อบาป และเกรงกลัวต่อบาป ไม่กล้าทำบาป เป็นเป็นเทวดาอยู่แล้ว"
"คะ หนูจะพยายามเป็นเทวดาให้ได้ โดยจะพยายามรักษาศีล และปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด มีความซื่อสัตย์และระลึกถึงบุญคุณของผู้ที่ช่วยเหลือเราค่ะ"
"ดีมาก ขอให้โชคดี"
"ขอบคุณค่ะ"
มีหนังสือสิบเล่ม เชิญเลือกอ่านได้ตามสะดวกสอบและอ่านหมุนเวียนกันจนครบทั้ง 10 เล่ม (ถ้าพอใจนะอ่าน)
กริ้ง ๆ ๆ ๆ ๆ
"ลุง ใช้ไหมจ๊ะ"
"ดิฉัน กลุ่มนักเรียนที่พบคุณลุงที่หาดแสนสุขลำปำ เมื่อหลายปีก่อน และพบท่านที่ตลาดเมื่อวันก่อน"
"สวัสดีจะลูก ๆ"
"คุณลุงอยู่ที่บ้านใช่ไหมค่ะ"
"อยู่ที่บ้านจะ"
"คุณลุงมีเวลาว่างไหม หนูจะไปเยี่ยม"
"ได้จะลูก ๆ จะมาตอนไหนละ"
"จะไปกันเดียวนี้เลย สะดวกไหมค่ะ"
"ได้ซิ เชิญเลย"
รถตู้มาจอดหน้าบ้านคุณลุง ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น บริเวณกว้างขวาง มีไม้ใบ ไม้ดอก ไม้ประดับสวยงาม สนามหญ้าเรียบสะอาดเจริญใจ
คนหนึ่งในกลุ่มกดออดเรียกเจ้าของบ้านหน้าประตู
คนใช้มาเปิดประตู
"จะมาพบใครจ๊ะ"
"พบคุณลุงค่ะ"
"เชิญค่ะ ท่านคอยอยู่"
เจ็ดสาวได้ลงจากรถ มอง ๆ รอบ ๆ ปูลงมาหลังสุดพร้อมด้วยกระเช้าแบรนด์รังนก ติดป้ายอวยพรปีใหม่ จากคณะเจ็ดสาว
"สวัสดีครับ สาว ๆ"
"สวัสดีจ๊ะ สาว ๆ"
"สวัสดีค่ะ" ทุกคนทำความเคารพพร้อมถอนสายบัว เว้นแต่ปูที่ถือกระเช้าอยู่ เพียงแต่ย่อเข่าถอนสายบัวเท่านั้น
"สวัสดีจ๊ะ เชิญขึ้นมาบนบ้าน และเชิญนั่ง"
คนใช้สาวสวยบริการน้ำดื่มเย็น ๆให้ทุกคน
"ขอบใจจ๊ะ"
"การเดินทางสะดวกสบายใหม่"
"สบายดีค่ะ"
"เชิญตามสบาย คิดเสียว่าเป็นบ้านของพวกเธอก็แล้วกัน"
"ในนามตัวแทนของกลุ่ม หนูขออวยพรให้คุณลุง จงเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุข พละ และปฏิภาณ ด้วยอำนาจของคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้คุณลุงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และภยันตรายใด ๆ และมีความสุขสวัสดีตลอดปีใหม่นี้เทอญ" ปู
"ขอบใจมาก ลูก ๆ ขอ ให้พรที่ลูก ปรารถนาให้เกิดมีแด่คุณลุงวันนี้ จงดลบันดาลตอบคืนให้ลูก ๆ จงประสบความสำเร็จ ความสุข ดังพรนั้นด้วย" ลุง
"วันนี้ขอเชิญทานข้าวมื้อกลางวันด้วยนะ" ลุง
"ไม่เป็นไรหรอก มิต้องรบกวนก็ได้"
"นาน ๆจะเจอลุง ๆ ดีใจมาก และเป็นห่วงขอให้โอกาสลุงเถอะ"
"ได้ค่ะ ถ้าเป็นความต้องการของคุณลุง"
"แต่แม่บ้านกับลูกไม่อยู่ จะกลับมาหลังเที่ยงวัน มีคนใช้ คนครัวอยู่ ถ้านั้น ขอเชิญหนูไปช่วยครัวด้วย โดยการแบ่งงานกันทำ"
"พวกเรา ไปปรึกษาแม่ครัวว่าจะแกงอะไรตามใจชอบ แล้วช่วยกันไปหาผัก ปอกมะพร้าว ขูดมะพร้าว ขุดข่า เก็บพริก หาผักเหนาะ ผักจิ้ม น้ำพริก บ้างไปตกปลา ปิ้งปลา ตามถนัด ต่างคนต่างช่วยกันทำ จะได้สนุก ทำให้ชีวิตมีคุณค่า และยืนยาวไปอีก"
เจ็ดสาวปรึกษาแม่ครัวว่าจะแกงคั่วมัสมั่น แกงเลียง ตำน้ำพริก พวกสาว ๆ ต่างแยกย้ายกันไปในสวนหาผัก และเครื่องแกงได้ตามความต้องการ ช่วยกันลงแรงจนประสบความสำเร็จ ร่วมกันรับประทานอาหารมื้อกลางวัน และลาจากกันด้วยความสุขใจ
เมื่อวันที่ : 16 มิ.ย. 2558, 10.39 น.
ผู้อ่านที่รัก,
นิตยสารรายสะดวก และผู้เขียนยินดีรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดงความเห็นได้โดยอิสระ ขอขอบคุณและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมีส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...