![]() |
![]() |
punei![]() |
ผมบอกไว้ก่อนเลย
ว่าผมไม่ได้เขียนราคาก๋วยเตี๋ยวในอนาคตแน่นอน
แต่หารู้ไม่!
ผมกำลังเขียนถึงราคาก๋วยเตี๋ยวในอดีต
ขอบอกว่าถ้าคุณอยู่คนเดียวตอนมืดๆไม่ควรอ่านเพราะมันน่ากลัวมาก
และขอบอกไว้อีกทีว่าใจความจะพิมไปมันก็ยาวจนผมขี้เกียจพิม
ผมเลยย่อให้เหลือสั้นๆ(เพราะความขี้เกียจ)
......เมื่อครั้นอดีตย้อนหลังไปประมาณช่วงผมยังเด็ก
ผมเติบโตขึ้นมาด้วยการเลี้ยงดูของพ่อแม่
และมีพี่ชาย 1 คน (แล้วผมจะบอกทำไมเนี่ย)
บ้านของผมและญาติๆจะอยู่ติดๆกัน
ปู่และย่ามักจะชวนพวกหลานๆรวมทั้งผมไปกินก๋วยเตี๋ยวกัน
หลานๆทุกคนต่างล้วนดีใจ
ยกเว้น
ผม
เพราะอะไรนะเหรอ
ผมเป็นโรคกลัวก๋วยเตี๋ยวหรือให้เรียกเท่ๆว่า
Noodle Phobia Syndrome(พิมถูกป่าวหว่า)
เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เด็ก
ส่วนสาเหตุในการไม่กินก๋วยเตี๋ยวนั้น
เรียกง่ายๆว่า เรื่องมากนั่นเอง
ถ้าให้เรียกเท่ๆก็คงเป็น Many Story
และแล้วเนื้อเรื่องก็ดำเนินมาจนถึงชื่อเรื่องซะที
เริ่มเลยนะครับหลังจากพรรณาไปนาน
...มีวันหนึ่งวันนั้นเป็นวันที่มีบรรยากาศดีมาก
ท้องฟ้าปลอดโปร่ง สงบร่มเย็น
เหมาะแก่การเดินทางเป็นอย่างมาก
ซึ่งสวนกระแสกลับพยากรณ์อากาศที่กรมอุตุเตือน(เป็นงี้ประจำ)
ผมได้เดินทางไปกับพ่อแม่ผม
และแล้วพ่อผมก็เอ่ยขึ้นมาคำหนึ่ง
ซึ่งคำๆนั้นได้เปลี่ยนแปลงชีวิตผม
ทำให้ผมได้มีวันนี้
"ถ้าลูกกินก๋วยเตี๋ยว พ่อให้ชามละ 100 บาทเลย"
ในใจตอนนั้นของผมนั้นลังเลใจพอสมควร
ผมจึงตอบกลับไปทันทีอย่างไม่มั่นใจว่า
"แน่ใจนะพ่อ"
.
"ไปเดี๋ยวนี้เลย"
"...."
ความเรื่องมากของผมเอาไปไว้ที่ไหนก็ไม่รู้
โรคกลัวก๋วยเตี๋ยวมันก็หายไปอย่างไร้ข้อกังขา
เพราะวันนั้นผมซัดไป 10 ชาม (ชามก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต)
อิ่มสบายท้องและสบายเงินซึ่งมีเพิ่มในกระเป๋า
แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น
พ่อให้ตังผมมาเพียง 500 บาท
โดยบอกที่เหลือติดไว้ก่อน
ผมรู้สึกเครียด กังวล เงินที่ได้มันจะน้อยไปรึเปล่า(ตามประสาลูกกตัญญู)
จึงเฝ้าทวงพ่อมาทุกวัน
จวบจนวันนี้ พ่อก็ไม่ให้ซักที(ครบรอบ10 ปีแล้วนะพ่อ)
ตามหลักจิตวิทยาแล้วนี่คือ วิธีการรักษาแบบMonet hit head หรือเรียกง่ายๆว่า เงินฟาดหัว ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่คนใหญ่คนโตบ้านเราชอบทำกัน
นี่แหละครับ เรื่องเล่าย่อๆที่จะให้เล่ายาวกว่านี้ก็ไม่ได้
น่ากลัวมั๊ยครับ ประสบการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวกับก๋วยเตี๋ยว 100 บาท
ผมว่าอย่างน้อย พ่อผมก็กลัวคนนึงหละ....
เมื่อวันที่ : 06 ก.ค. 2551, 22.29 น.
ผู้อ่านที่รัก,
นิตยสารรายสะดวก และผู้เขียนยินดีรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดงความเห็นได้โดยอิสระ ขอขอบคุณและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมีส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...