![]() |
![]() |
ไร้ตัวตน![]() |
จงอธิบายว่าท่านจะใช้ บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกระฟ้าได้อย่างไร
รู้จักกันนะครับว่าบาร์รอมิเตอร์ นี่ก็คือเครื่องมือวัดความกดอากาศนั่นเอง
(อธิบายเพิ่มเติมก็คงต้องบอกว่า อากาศนั้นมันมีน้ำหนักหรือมีแรงกดนั่นเอง และแรงกดของอากาศนั้นเมื่อ อยู่ในระดับความสูงที่เปลี่ยนไป ความกดอากาศก็เปลี่ยนไปด้วย)
นักศึกษาคนหนึ่งเขียนคำตอบลงไปว่า
"เอาเชือกยาวๆ ผูกกับบารอมิเตอร์แล้วหย่อนลงมาจากยอดตึก แล้วก็เอาความยาวเชือกบวกความสูงบารอมิเตอร์ก็จะได้ความสูงของ ตึก"
ฟังดูเป็นอย่างไรครับคำตอบนี้ ผมฟังครั้งแรกผมยังอมยิ้มเลยครับ แต่อาจารย์ที่ตรวจข้อสอบไม่นึกขันอย่างผมด้วย อาจารย์ตัดสินให้นักศึกษาคนนั้นสอบตก
นักศึกษาผู้นั้นยืนยันต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาว่า คำตอบของเขาควรจะถูกต้องอย่างไม่มีข้อโต้แย้งและคำตอบของเขาก็สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
ทางมหาวิทยาลัยจึงตั้งกรรมการชุด หนึ่งมาตัดสินเรื่องนี้ และในที่สุดคณะกรรมการก็มีความเห็นตรงกันว่าคำตอบนั้นถูกต้องอย่างแน่นอน แต่เป็นคำตอบที่ไม่แสดงถึงความรู้ความสามารถทางฟิสิกส์
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทางคณะกรรมการจึงให้เรียกนักศึกษาคนนั้นมา แล้วให้สอบข้อสอบข้อนั้นอีกครั้งหนึ่งต่อหน้าโดยให้เวลาเพียง 6 นาที เท่ากับเวลาในการสอบข้อสอบเดิมเพื่อหาคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ทางด้านฟิสิกส์
หลังจากผ่านไป 3 นาที นักศึกษาคนนั้นก็ยังนั่งนิ่งอยู่ กรรมการจึงเตือนว่าเวลาผ่านไปครึ่งหนึ่งแล้วจะไม่ตอบหรืออย่างไร
นักศึกษาหัวรั้นจึงตอบว่า เขามีคำตอบมากมายที่เกี่ยวกับฟิสิกส์ แต่ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้คำตอบไหนดีและเมื่อได้รับคำเตือนอีกครั้ง นักศึกษาจึงเขียนคำตอบลงไปดังนี้
" ให้เอาบารอมิเตอร์ขึ้นไปบนดาดฟ้าตึก และทิ้งลงมาจับเวลาจนถึงพื้น, ความสูงของตึกหาได้จากสูตร H=0.5g*t กำลัง 2
หรือถ้าแดดแรงพอ ให้วัดความสูง บารอมิเตอร์แล้วก็วางบารอมิเตอร์ให้ตั้งฉากพื้น แล้ววัดความยาวของเงาบารอ มอเตอร์ จากนั้นก็วัดความยาวของเงาตึก แล้วคิดด้วยตรีโกณมิติก็จะได้ความ สูงของตึกโดยไม่ต้องขึ้นไปบนตึกด้วยซ้ำ
หรือถ้าเกิดอยากใช้ความสามารถด้าน วิทยาศาสตร์มากกว่านี้ ก็เอาเชือกเส้นสั้นๆ มาผูกกะบารอมิเตอร์แล้วแกว่ง เหมือนลูกตุ้ม ตอนแรกก็แกว่งระดับพื้นดิน แล้วก็ไปแกว่งอีกทีบนดาดฟ้า ความสูงของตึกจะหาได้จาก ความแตกต่างของคาบการแกว่ง เนื่องจากความแตกต่างของ แรงดึดดูดจากจุดศูนย์กลางของมวล คำนวณจาก T = 2 พาย กำลัง 2 รากที่ 2 ของ l/g
ถ้าตึกมีบันไดหนีไฟก็ง่ายๆ ก็เดินขึ้นไปเอาบารอมิเตอร์ทาบแล้วก็ทำเครื่องหมายไปเรื่อยๆ จนถึงยอดตึกนับไว้คูณ ด้วยความสูงของบารอมิเตอร์ก็ได้ความสูงตึก
แต่ถ้าคุณเป็นคนที่น่าเบื่อและยึดถือ ตามแบบแผนจำเจซ้ำซาก คุณก็เอาบารอมิเตอร์วัดความดันอากาศที่พื้นและที่ยอดตึก คำนวณความแตกต่างของความดันก็จะได้ความสูง
ส่วนวิธีสุดท้ายง่ายและตรงไปตรงมาก็คือไปเคาะประตูห้องภารโรง แล้วบอกว่าอยากได้ บารอมิเตอร์สวยๆใหม่เอี่ยมสักอันไหม ช่วยบอกความสูงของตึกให้ผมทีแล้วผมจะยก ให้ !!!.
นักศึกษาคนนั้นคือ นีล โบร์ ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีค.ศ.1922 ^^(1996) ..."
หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เจ้านี่มันตอบได้กวนอวัยวะเบื้องต่ำ และบางทีหากคุณเป็นหนึ่งในอาจารย์ที่ตรวจข้อสอบคงจะให้ตกอย่างไม่ต้องสงสัย
ส่วนอีกหลายคนเช่นฉันกลับทึ่งกับคำตอบและถ้าฉันเป็นอาจารย์ แทนที่ฉันจะโกรธเป็นฟืนเป็นไฟกับคำตอบเหล่านี้ แล้วให้เขาสอบตก ฉันคงจะเรียกเขามาทำข้อสอบอีกครั้ง แล้วฉันจะเขียนข้อสอบเดิมขึ้นมาใหม่ เพื่อวัดผลเขาอีกครั้ง
ฉันจำได้คร่าวๆกับหนังเรื่อง Phenomenon ที่มี John Travolta แสดงนำว่ามีอยู่ฉากหนึ่งที่เขาถูกนำตัวไปสอบสวนเกี่ยวกับความสามารถของเขา ในฉากนั้นเราจะเห็นถึงความแตกต่างของ อัจฉริยะ กับคนปรกติในคำถามที่ตอบโต้กัน
หรืออย่างในคำถามด้านบนก็ตาม เรามาดูคำถามนี้อีกครั้ง
"จงอธิบายว่าท่านจะใช้ บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกระฟ้าได้อย่างไร"
สำหรับนักศึกษาวิชาฟิสิกที่กำลังสอบ พวกเขาคงจะเข้าใจว่าคำถามนี้ต้องการให้นำเอาการวัดความกดอากาศของบารอนมิเตอร์มาใช้คำนวนหาความสูงของตึกอย่างไม่ต้องสงสัย
แต่ความคิดแบบนั้น กลับเป็นการปิดกั้นความคิดอื่นๆที่จะใช้สำหรับหาคำตอบด้วยเช่นกัน!!!
ในการดำเนินชีวิตประจำวันเราอาจจะต้องเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นอยู่เสมอ การที่เรารู้จักนำสิ่งรอบข้างมาใช้สำหรับแก้ปัญหาก็เป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะลืมนึกถึง เมื่อเราถูกสอนให้จำกัดความคิดอยู่ในกรอบมันจึงกลายเป็นการทำลายจินตรนาการทางความคิดที่น่าเสียดายยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ไม่จำเป็นว่าช้อนต้องเอาไว้ตักข้าวเสมอไป ไม่จำเป็นที่ไขควงเท่านั้นที่จะไขน๊อตได้
การแก้ปัญหาที่ดี จึงควรจะมองปัญหาทั้งหมดว่าอะไรคือปัญหา เรามีอะไรที่สามารถใช้ได้บ้าง แล้วสิ่งที่มีนั้นจะเอามาแก้ปัญหาได้อย่างไร แล้วสุดท้ายวิธีไหนจึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เมื่อเราเห็นหมดทุกข้อตามนี้ เราก็จะแก้ปัญหาต่างๆได้โดยง่ายและถูกต้องได้
ดังนี้แล้ว คำถามในตอนต้นการจะไปปรับให้นักศึกษาท่านนี้ตกจึงเกิดจากทิฐิของอาจารย์ล้วนๆ ทั้งๆที่ปัญหาที่แท้จริงนั้นเกิดมาจากคำถามที่มีช่องโหว่และไม่รัดกุมเพียงพอต่างหาก
(** เนื้อเรื่องจาก...ไหนไม่รู้เหมือนกัน พอดีมีคนโพสให้อ่านเห็นแล้วน่าสนใจดีเลยนำมาเล่าสู่กันฟัง)
เมื่อวันที่ : 27 ก.พ. 2550, 17.55 น.
ผู้อ่านที่รัก,
นิตยสารรายสะดวก และผู้เขียนยินดีรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดงความเห็นได้โดยอิสระ ขอขอบคุณและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมีส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...