![]() |
![]() |
จันทน์กะพ้อ![]() |


........ รกฟ้าขานางยางตะเคียน...............กันเกรากระเบียนและชิงชัน
......................................................ขุนช้างขุนแผน...พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2
ในช่วงเดือนเมษายน เมื่อเริ่มมีฝนแรกในหน้าร้อน กันเกรามักจะออกดอกผลิบานทั้งต้นหอมกรุ่น เรามักจะได้กลิ่นหอมโชยมาตามลมหลังจากที่ฝนหยุดแล้ว ดอกกันเกราส่งกลิ่นหอมไปไกลอาจเป็นเพราะลำต้นที่สูงใหญ่แบบไม้ป่านั่นเอง
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
กันเกราหรือ ตะเกรา เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้นทรงสวยสูงใหญ่แข็งแรง แต่เติบโตค่อนข้างช้า ใบดกทึบหนาสีเขียวแก่เป็นมัน ชอบขึ้นในที่แล้งหรือในที่ๆมีฝนชุก เวลามีดอกมักออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีสีเหลืองนวลอมเหลืองเล็กน้อย ช่อคล้ายๆดอกอโศก มีกลิ่นหอมระรื่นทั้งวัน ชวนดมมาก
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
ต้นกันเกรานี้ ทางภาคใต้เรียกว่า "ตำเสา" หรือ "ทำเสา" แต่ทางภาคอีสานเรียกว่า "มันปลา" ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
กันเกรานั้นเป็นไม้ที่จะพบมากแถว จันทบุรี ชุมพร และตราด คนโบราณแถบนี้จะเอาแก่นต้นกันเกรามาทำไม้ค้างพริกไทย หมายถึงเอาไม้แก่นมาตั้งเป็นเสาให้ต้นพริกไทยเลื้อยเกาะ ที่ต้องเอาเป็นไม้ตะเกราหรือกันเกราก็เพราะแก่นไม้ชนิดนี้แข็งมากอยู่ได้หลายๆสิบปี โดยไม่ผุ แม้แต่บ้านโบราณก็ยังใช้แก่นไม้นี้ปูพื้นบริเวณที่ชำระล้าง เพราะความทนทานนั่นเอง
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
เนื้อไม้ละเอียดสีเหลืองอ่อน แข็งทนทานมากทั้งในพื้นดินและในน้ำ ทนปลวก ตกแต่งง่าย ชักเงาได้ดี นิยมใช้ทำเสาเรือน เสาสะพาน กระดานปูพื้น ผนัง ประตู หน้าต่าง เครื่องเรือน เครื่องกลึง กระดูกงูเรือ โครงเรือ เสากระโดงเรือ หมอนรางรถไฟ ชาวจีนตอนใต้นิยมใช้ทำโลงจำปา เนื้อไม้และเปลือกใช้เป็นสมุนไพร
สรรพคุณตามตำรายา : เปลือกต้น บำรุงโลหิต แก้ผิวหนังพุพองปวดแสบร้อน แก่น บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ไข้จับสั่น แก้หืดไอ ริดสีดวง ท้องมาน มูกเลือด แน่นหน้าอก บำรุงม้าม ขับลม
![]() |
![]() |
|
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
กันเกราเป็นหนึ่งในเก้าของไม้มงคล และเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดนครพนม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea fragrans
วงศ์ LOGANIACEAE
ชื่อสามัญ : Anon, Tembusu
เมื่อวันที่ : 18 ม.ค. 2550, 10.10 น.
ผู้อ่านที่รัก,
นิตยสารรายสะดวก และผู้เขียนยินดีรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเขียนชิ้นนี้
เชิญคลิกแสดงความเห็นได้โดยอิสระ ขอขอบคุณและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในการมีส่วนร่วมของท่านในครั้งนี้...